SET Announcements
สรุปข้อสนเทศ : ESSO
30 April 2008
- สรุปข้อสนเทศ -
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ESSO)
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ เลขที่ 3195/17-29 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ 0-2262-4000 โทรสาร 0-2262-4800 Website www.esso.co.th
ที่ตั้งโรงกลั่นและ เลขที่ 118 หมู่ที่ 2 ถนนสุขาภิบาล 7 แขวงทุ่งศุขลา เขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โรงงานอะโรเมติกส์ โทรศัพท์ 038-408-000 โทรสาร 038-493-938
เป็นหลักทรัพย์จด เมื่อวันที่ 6 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551
ทะเบียน (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 6 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2551)
ประเภทหลักทรัพย์ หุ้นสามัญ 3,383,333,300 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 4.9338 บาท
จดทะเบียน รวม 16,692,689,835.54 บาท
ทุนของบริษัท ณ วันที่ 6 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (วันที่เริ่มทำการซื้อขาย)
ทุนจดทะเบียน
หุ้นสามัญ 17,110,007,246.71 บาท
หุ้นบุริมสิทธิ - บาท
ทุนชำระแล้ว
หุ้นสามัญ 16,692,689,835.54 บาท
หุ้นบุริมสิทธิ - บาท
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ (SET)
ราคาเสนอขาย 10 บาท
วันที่เสนอขาย - วันที่ 21 และ 22 เมษายน 2551 สำหรับผู้จองซื้อรายย่อยและบุคคลทั่วไป และ
- วันที่ 23 - 25 เมษายน 2551 และวันที่ 28 เมษายน 2551 สำหรับนักลงทุนสถาบัน
การเสนอขาย จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 930,416,600 หุ้น ได้แก่
- หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 773,333,300 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 22.86 ของทุนชำระแล้ว*
- หุ้นสามัญเดิมที่ถือโดยกระทรวงการคลัง จำนวน 72,500,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.14
ของทุนชำระแล้ว*
- จัดสรรหุ้นส่วนเกิน จำนวน 84,583,300 หุ้น โดยบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)
(ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย) ยืมหุ้นทั้งจำนวนจากบริษัทเอ็กซอน
โมบิลอินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง อิงค์ เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อที่ได้รับการจัดสรร
* ภายหลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป โดยไม่นับรวมกรณีบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร
จำกัด (มหาชน) ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่เพื่อส่งคืนหุ้นที่ยืมมาเพื่อจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
วัตถุประสงค์การใช้ เงินสุทธิที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ (รวมถึงเงินที่จะได้รับจากการ
เงินเพิ่มทุน ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน หากผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินใช้สิทธิซื้อหุ้นภายหลังการเสนอขายหุ้น)
ส่วนหนึ่งนำไปชำระคืนหนี้สินเชื่อระยะสั้นบางส่วนภายใต้สินเชื่อเงินกู้ร่วม
(Syndicated Bank Loan) จากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และส่วนที่เหลือจะนำไปใช้เป็น
เงินทุนหมุนเวียน และเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั่วไปของบริษัทฯ
การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน จำนวน 84,583,300 หุ้น โดยยืมจากบริษัท เอ็กซอนโมบิลอินเตอร์เนชั่นแนล
โฮลดิ้ง อิงค์ โดยมีบริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน และจะ
จัดหาหุ้นคืนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ วิธีการจัดหา
หุ้นส่วนเกินเพื่อส่งคืนจะเป็นดังต่อไปนี้
1. ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ/หรือ
2. ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ที่จะออกโดยบริษัทฯ
อนึ่ง ในการให้ยืมหุ้นเพื่อการจัดสรรหุ้นส่วนเกินนั้น บริษัทเอ็กซอนโมบิลอินเตอร์เนชั่นแนล
โฮลดิ้ง อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ให้ยืมหุ้นเพื่อการจัดสรรหุ้นส่วนเกินสามารถเรียกให้ผู้จัดหาหุ้นส่วน
เกินส่งมอบคืนหุ้นที่ให้ยืมได้ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้มีการส่ง
มอบคืนหุ้น อันจะเป็นผลทำให้ระยะเวลาในการดำเนินการเพื่อการรักษาระดับราคา
(Stabilization) อาจสิ้นสุดก่อนระยะเวลา 30 วัน
ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
1. ลักษณะผลิตภัณฑ์
บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียม และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบครบวงจร
(integrated) อีกทั้งบริษัทฯ ทำการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งบริษัทฯ และบริษัท
ในเครือที่เกี่ยวข้องได้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 100 ปี บริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแก่ลูกค้ารายย่อย
ผ่านทางเครือข่ายที่กว้างขวางของสถานีบริการน้ำมันค้าปลีกภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่ รวมทั้งขายโดยตรงให้แก่ลูกค้า
ในภาคอุตสาหกรรมค้าส่งการบินและการเดินเรือ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังขายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ
ที่บริษัทฯ ผลิตให้แก่ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ และเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากกระบวนการกลั่นแยกส่วน (fractionation) และการกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่ง
ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักคือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน/น้ำมันก๊าด
น้ำมันดีเซล น้ำมันเตาและยางมะตอย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หล่อลื่นด้วย และ
2. ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักคือ พาราไซลีนที่ใช้เป็นวัตถุดิบ
สำหรับการผลิตกรดเทเรฟทาลิก (purified terephthalic acid ("PTA")) ซึ่งจะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับ
การผลิตแผ่นฟิล์มโพลีเอสเตอร์ บรรจุภัณฑ์ เรซินและผ้าใยสังเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีสารเบนซีนเข้มข้น ซึ่ง
ในเบื้องต้นจะนำส่วนหนึ่งไปใช้ในโรงกลั่นในหน่วยทรานส์อัลคีเลชั่น (Transalkylation) เพื่อผลิตเป็นวัตถุดิบ
ของพาราไซลีน ส่วนเคมีภัณฑ์อื่นๆ ของบริษัทฯ ได้แก่ สารทำละลายซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้ผลิต รวมทั้งสาร
พลาสติกไซเซอร์ (plasticizers) ซึ่งผลิตโดยผู้รับจ้างผลิตภายนอกโดยใช้วัตถุดิบที่บริษัทฯ เป็นผู้จัดหา
โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ สามารถกลั่นน้ำมันดิบประเภทต่าง ๆ ซึ่งบริษัทฯ จัดหามาจากตะวันออกกลาง
เอเชียตะวันออกไกลและแอฟริกาตะวันตก การเลือกวัตถุดิบและสัดส่วนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด (Product
slate) ของบริษัทฯ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งจะขึ้นอยู่กับราคาและปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ บริษัทฯ จะทำการตัดสินใจ
ในเรื่องสัดส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดร่วมกับบุคลากรที่รับผิดชอบทางด้านการขายและการตลาดของบริษัทฯ
โดยยึดจากการประเมินของบริษัทฯ ถึงความต้องการและประมาณการราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่บริษัทฯ สามารถ
ผลิตได้ ซึ่งโดยปกติจะดำเนินการประมาณสามเดือนก่อนหน้าคำสั่งซื้อที่ได้คาดการณ์ไว้
บริษัทฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์หล่อลื่นกว่า 300 ชนิดเพื่อใช้ในยานยนต์ เครื่องจักรและงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ภายใต้ชื่อการค้า โมบิล และ เอสโซ่ เป็นหลัก รวมถึงการผลิตภายใต้ชื่อของพันธมิตรทางการค้าด้วย โดยผลิตภัณฑ์
หล่อลื่นของบริษัทฯ ได้มาจากการนำเข้า หรือการนำวัตถุดิบมาผลิตภายในประเทศโดยใช้ผู้รับจ้างผลิตภายนอก
ผลิตภัณฑ์จะนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้จัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต และสถานีบริการ รวมทั้งขายโดยตรงให้แก่ลูกค้า
2. โครงสร้างรายได้
รายได้จากการขาย ประกอบด้วยส่วนธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน (Downstream Segment)
และส่วนธุรกิจปิโตรเคมี (Petrochemical Segment)
ตารางดังต่อไปนี้แสดงรายได้จากการขายของบริษัทฯ สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และรายได้จากการขาย
จากผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ ของบริษัทฯ สำหรับช่วงระยะเวลาที่ระบุ
ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
2548 2549 2550
รายได้จาก รายได้จาก รายได้จาก
การขาย ร้อยละ การขาย ร้อยละ การขาย ร้อยละ
(ล้านบาท ยกเว้นอัตราร้อยละ)
ส่วนธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจัด
จำหน่ายน้ำมัน:
น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 4,639 2.7 4,683 2.4 4,072 2.0
น้ำมันเบนซิน(1) 50,695 29.2 53,788 27.5 57,339 28.7
รวมน้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา......... 55,334 31.9 58,471 29.9 61,411 30.7
น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักกึ่งเบา
น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน/น้ำมันก๊าด . 12,846 7.4 15,478 7.9 14,806 7.4
น้ำมันดีเซล 69,124 39.8 77,138 39.5 81,334 40.7
รวมน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักกึ่ง
เบา 81,970 47.2 92,616 47.4 96,140 48.1
น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก
น้ำมันเตา 13,159 7.6 15,699 8.0 13,347 6.7
ยางมะตอย 1,348 0.8 1,828 0.9 1,877 0.9
รวมน้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก 14,507 8.4 17,527 9.0 15,224 7.6
ผลิตภัณฑ์หล่อลื่น
น้ำมันหล่อลื่นและจารบี 3,443 2.0 3,637 1.9 3,459 1.7
อื่น ๆ(2) 4,660 2.7 4,412 2.3 4,388 2.2
รายได้สุทธิจากบริการ(3) 458 0.3 452 0.2 476 0.2
รวมรายได้จากการขายส่วน
ธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจัด
จำหน่ายน้ำมัน 160,371 92.3 177,115 90.7 181,098 90.6
ส่วนธุรกิจปิโตรเคมี:
พาราไซลีน 12,607 7.3 17,339 8.9 15,999 8.0
สารเบนซีนเข้มข้น 679 0.4 845 0.4 1,235 0.6
สารทำละลาย - - - - 941 0.5
สารพลาสติกไซเซอร์ - - - - 553 0.3
อื่น ๆ(4) - - 6 - 78 0.0
รวมรายได้จากการขายส่วน 13,287 7.7 18,190 9.3 18,806 9.4
ธุรกิจปิโตรเคมี
รวมรายได้จากการขาย 173,658 100.0 195,305 100.0 199,904 100.0
(1) รายได้จากการขายน้ำมันเบนซินได้รวมรายได้จากการขายแนฟทาและรีฟอร์เมตไว้ด้วย
(2) รายได้อื่น ๆ โดยหลักแล้วเป็นรายได้จากการขายน้ำมันดิบซึ่งบริษัทฯ ได้ซื้อมาจากบริษัทในเครือ แต่ต่อมา
ตัดสินใจที่จะไม่ใช้และได้ขายต่อให้แก่บริษัทอื่นในเครือก่อนที่จะนำเข้าสู่กระบวนการกลั่น และยังรวมถึงสินค้า
ที่จัดจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ
(3) รายได้สุทธิจากบริการ โดยหลักประกอบด้วย ค่าใช้สิทธิ (franchise fee) จากตัวแทนจำหน่าย ค่าจัดการ
ผลิตภัณฑ์ และค่าเก็บรักษาสินค้าจากลูกค้าในธุรกิจการบิน และค่าเช่าจากบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม
จำกัด (สำหรับร้านเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส)
(4) รายได้อื่น ๆ โดยหลักแล้วเป็นรายได้จากการขายบิวทิล (Butyl) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่น ๆ
3. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและช่องทางการจำหน่าย
บริษัทฯ ทำการตลาดและขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์หล่อลื่นโดยผ่านช่องทางสามช่องทาง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ ช่องทางพาณิชยกรรม การค้าปลีก และการส่งออก โดยบริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์
สำหรับช่องทางพาณิชยกรรมในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ และผลิตภัณฑ์ส่งออกให้แก่หรือผ่านบริษัทในเครือเอ็กซอน โม
บิล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งได้ให้การสนับสนุนทางด้านการตลาดและการขายแก่บริษัทฯ ภายใต้สัญญาบริการต่าง ๆ บริษัทฯ
ทำการตลาดผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงค้าปลีกและผลิตภัณฑ์หล่อลื่นบางชนิดผ่านทางสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่
3.1 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์หล่อลื่น
ตารางดังต่อไปนี้แสดงปริมาณการขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ซึ่งไม่รวมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต่อในการกลั่น) โดย
จำแนกตามช่องทางต่าง ๆ สำหรับระยะเวลาที่ระบุไว้
ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
2548 2549 2550
ปริมาณการ ปริมาณการ ปริมาณการ
ขาย ร้อยละ ขาย ร้อยละ ขาย ร้อยละ
(พันบาร์เรล ยกเว้นอัตราร้อยละ)
พาณิชยกรรม .......................... 30,335 54.2 29,539 54.3 29,801 55.9
ค้าปลีก(1)............................ 16,288 29.1 17,823 32.8 18,168 34.1
ส่งออก................................ 9,332 16.7 7,033 12.9 5,335 10.0
รวมปริมาณการขาย.......................55,955 100.0 54,395 100.0 53,304 100.0
(1) รวมปริมาณการขายผลิตภัณฑ์หล่อลื่น จำนวนประมาณ 2 พันบาร์เรล, ประมาณ 2 พันบาร์เรล และประมาณ 3 พัน
บาร์เรล ในปี 2548, 2549 และ 2550 ตามลำดับ
(ก) พาณิชยกรรม
ช่องทางพาณิชยกรรมนี้ได้แก่ การขายให้แก่ผู้ใช้ขั้นปลายในอุตสาหกรรม ผู้ค้าส่ง ตลอดจนลูกค้าใน
อุตสาหกรรมการบินและการเดินเรือ ยอดขายให้แก่ลูกค้าในอุตสาหกรรมและผู้ค้าส่งประกอบด้วยก๊าซปิโตรเลียมเหลว
น้ำมันดีเซล น้ำมันเตาและผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเป็นหลัก บริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเพื่อใช้ในยานยนต์ และงาน
อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ชื่อการค้า โมบิล และ เอสโซ่ รวมถึงการผลิต
ภายใต้ชื่อของพันธมิตรทางการค้า
ผลิตภัณฑ์ที่ขายให้แก่ลูกค้าในอุตสาหกรรมการเดินเรือได้แก่น้ำมันเตาเป็นหลัก ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ขาย
ให้แก่ลูกค้าในอุตสาหกรรมการบินได้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน โดยเป็นการขายให้แก่สายการบินต่าง ๆ ทั้งนี้
บริษัทฯ ได้ทำการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านทางท่อส่งน้ำมันให้แก่สายการบินนานาชาติและสายการบินใน
ประเทศประมาณ 20 สายการบินที่ท่าอากาศยานพาณิชย์หลักสองแห่งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
บริษัทฯ จะเข้าทำสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระยะสั้นมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ดี
บริษัทฯ มิได้มีสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระยะยาวสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์หล่อลื่น
(ข) การค้าปลีก
บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้ค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงรายใหญ่หกรายในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 มี
เครือข่ายสถานีบริการภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่จำนวน 583 แห่งทั่วประเทศ สถานีบริการน้ำมันภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่
รวมถึงสถานีบริการน้ำมันที่ดำเนินการโดยบริษัทย่อยของบริษัทฯ คือ บริษัท ไทย ซี-เซ็นเตอร์ จำกัด และสถานีบริการ
น้ำมันที่ดำเนินการโดยตัวแทนจำหน่ายภายนอก
ตารางดังต่อไปนี้แสดงรายละเอียดของสถานีบริการน้ำมันประเภทต่าง ๆ ณ วันที่ที่ระบุไว้
ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2548 2549 2550
สถานีบริการเอสโซ่ จำนวนสถานี ร้อยละ จำนวนสถานี ร้อยละ จำนวนสถานี ร้อยละ
ดำเนินงานโดยบจก.ไทย ซี-เซ็นเตอร์ 160 25.1 163 27.0 160 27.4
ดำเนินงานโดยตัวแทนจำหน่าย 478 74.9 440 73.0 423 72.6
รวมสถานีบริการน้ำมัน 638 100.0 603 100.0 583 100.0
ทั้งนี้ จำนวนของสถานีบริการน้ำมันภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่ ได้ลดลงในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากสถานีบริการ
น้ำมันหลายแห่งที่ไม่สามารถทำกำไรได้จำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการลง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสภาพการแข่งขัน
ในตลาดที่สูง จนทำให้มีค่าการตลาด (marketing margin) ที่ต่ำลง
ตารางดังต่อไปนี้แสดงยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงค้าปลีกโดยเฉลี่ยต่อสถานีบริการ จำแนกตามชนิดของสถานี
บริการสำหรับระยะเวลาที่ระบุไว้
ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
2548 2549 2550
(พันลิตร)
ดำเนินงานโดยบจก.ไทย ซี-เซ็นเตอร์ 4,367 5,144 5,520
ดำเนินงานโดยตัวแทนจำหน่าย 3,955 4,534 4,739
รวมสถานีบริการน้ำมัน 4,058 4,699 4,954
บริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 17.6 ในประเทศไทยเมื่อพิจารณาจากปริมาณการขายปลีก
(throughput) น้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน ในปี 2550 ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดยกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงค้าปลีกของบริษัทฯ ประกอบด้วยน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน 3 เกรด ได้แก่ น้ำมัน
เบนซินไร้สารตะกั่ว 95 น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 สถานีบริการ
น้ำมันทุกแห่งในประเทศไทยจะต้องขายน้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล (biofuel-blended diesel) ร้อยละ 2
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 บริษัทฯ ได้เริ่มขายน้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซลในสถานีบริการน้ำมันของบริษัทฯ
เพื่อให้เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องดังกล่าว บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะเริ่มทยอยขายแก๊สโซฮอล์ 91 ณ
เครือข่ายสถานีบริการน้ำมันของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ใช้สิทธิในการ
ดำเนินการร้านสะดวกซื้อ "ไทเกอร์มาร์ท" ณ สถานีบริการน้ำมันบางแห่งภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่ บริษัทฯ พยายามที่จะ
เพิ่มยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงค้าปลีกที่สถานีบริการน้ำมันที่อยู่ภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่ บริษัทฯ ยังเสาะหาวิธีเพิ่มรายได้
ที่มิใช่จากน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านทางกลยุทธ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
- ร้านสะดวกซื้อ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัท ไทย ซี-เซ็นเตอร์ จำกัด ดำเนินการร้านไทเกอร์มาร์ทจำนวน 102 แห่ง
และมีร้านไทเกอร์มาร์ทจำนวน 148 แห่งที่สถานีบริการซึ่งดำเนินงานโดยตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ของตัวแทนจำหน่าย
สำหรับร้านไทเกอร์มาร์ทที่ดำเนินงานโดยตัวแทนจำหน่าย บริษัทฯ จะได้รับค่าธรรมเนียมที่แปรผัน (variable fees)
ตามยอดขายของร้านสะดวกซื้อของแต่ละร้าน บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะปรับปรุงภาพลักษณ์ของ
ร้านค้าโดยใช้เงินลงทุนที่ต่ำแต่มีศักยภาพที่จะเพิ่มยอดขายได้มาก ด้วยวิธีการลงทุนที่เป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯ
- พันธมิตร
บริษัทฯ มีสัญญาความร่วมมือกับบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด เพื่อการจัดตั้งร้านเทสโก้
โลตัสเอ็กซ์เพรสที่สถานีบริการน้ำมันภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่ในประเทศไทย ภายใต้สัญญานี้ ร้านเทสโก้โลตัสเอ็กซ์
เพรสซึ่งตั้งอยู่ที่สถานีบริการในประเทศไทยต้องอยู่ภายใต้สถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ในประเทศไทยเท่านั้น ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2550 มีร้านเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสจำนวน 54 แห่งที่ตั้งอยู่ที่สถานีบริการน้ำมันภายใต้ชื่อการค้าเอสโซ่
บริษัทฯ ได้รับค่าธรรมเนียมจากเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสซึ่งแปรผันตามรายได้จากการขาย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมี
พันธมิตรอื่นซึ่งให้บริการเสริมแก่ผู้ใช้รถยนต์ อาทิ บริษัท บี-ควิก เซอร์วิส จำกัด ซึ่งให้บริการซ่อมรถยนต์ และบริษัท
คาร์แลค (ไทย-เยอรมัน) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบำรุงรักษารถยนต์ รวมถึงบริการล้างรถยนต์ บริษัทฯ เก็บ
ค่าธรรมเนียมหลายรูปแบบจากพันธมิตรเหล่านี้ ซึ่งอาจเป็นอัตราคงที่ และ/หรืออัตราที่ผันแปร
(ค) การส่งออก
ผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดของบริษัทฯ ที่ส่งออก ได้ขายให้แก่หรือผ่านทาง ExxonMobil Asia Pacific Pte.Ltd.
และ ExxonMobil Sales and Supply LLC ในปี 2550 บริษัทฯ ส่งออกน้ำมันเตา และน้ำมันเบนซินเป็นหลัก
3.2 ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ
ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ ของบริษัทฯ จำหน่ายในประเทศให้แก่ลูกค้าในพาณิชยกรรมและ
ส่งออก ตารางดังต่อไปนี้แสดงยอดขายในประเทศและยอดขายส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และเคมีภัณฑ์อื่นๆ
สำหรับระยะเวลาที่ระบุไว้
ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
2548 2549 2550
ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ ยอดขาย ร้อยละ ยอดขาย ร้อยละ ยอดขาย ร้อยละ
(พันบาร์เรล ยกเว้นอัตราร้อยละ)
ในประเทศ 338 88.7 420 93.8 465 96.7
ส่งออก 43 11.3 28 6.2 16 3.3
รวมยอดขาย 381 100.0 448 100.0 481 100.0
บริษัทฯ ขายพาราไซลีนให้แก่ผู้ผลิต PTA ในประเทศไทยเป็นหลัก โดยได้เข้าทำสัญญาขายผลิตภัณฑ์ระยะ
ยาวสามฉบับเพื่อขายพาราไซลีนให้แก่ผู้ผลิต PTA ในประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญของการผลิตพาราไซลี
นของบริษัทฯ จำนวนของวัตถุดิบที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ราคาตลาดของวัตถุดิบจากภายนอกและราคา
ตลาดของพาราไซลีน ปริมาณการผลิตพาราไซลีนของบริษัทฯ จะถูกนำมาพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
กำหนดสัดส่วนน้ำมันดิบ (crude oil slate) และสัดส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด (production slate) ของบริษัทฯ
โดยใช้โปรแกรมการจำลองประสิทธิภาพสูงสุด (optimization modeling software) บริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์สารทำ
ละลายและสารพลาสติกไซเซอร์ทั้งหมดภายในประเทศ
4. การจัดหาผลิตภัณฑ์
1. การจัดหาน้ำมันดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันคือน้ำมันดิบ บริษัทฯ สามารถกลั่นน้ำมันดิบประเภท
ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงน้ำมันดิบจากตะวันออกกลาง ตะวันออกไกลและแอฟริกาตะวันตก เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท
ฯ มีหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ (upgrading and conversion unit) บริษัทฯ จึงสามารถใช้น้ำมันดิบชนิดหนักที่มี
ความหนาแน่นและมีกำมะถันสูง (heavy sour crude) จากตะวันออกกลางในสัดส่วนที่สูงขึ้นได้เพื่อการผลิต
ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า น้ำมันดิบชนิดหนักดังกล่าวมีปริมาณกำมะถันสูงกว่าและ
ต้นทุนต่ำกว่าน้ำมันดิบชนิดเบาที่มีความหนาแน่นน้อย (light sweet crude) นอกจากนี้ จากการใช้เครือข่ายการจัดหา
น้ำมันดิบทั่วโลกของเอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่น และ/หรือบริษัทในเครือ และการใช้เทคโนโลยี Molecular
Fingerprinting & Modeling ที่ทันสมัย บริษัทฯ สามารถจัดหา คัดเลือกและผสมน้ำมันดิบให้มีคุณสมบัติที่จะช่วยเพิ่ม
กำไรของบริษัทฯ ให้สูงสุดได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น บริษัทฯ จะทำการกำหนดสัดส่วนน้ำมันดิบ (crude oil slate)
ภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้พิจารณากำหนดสัดส่วนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด (product slate) จากข้อมูลที่
ได้รับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและการตลาดโดยอ้างอิงกับการประเมินค่าความต้องการของลูกค้าและประมาณการราคา
สำหรับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่บริษัทฯ สามารถผลิตได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขึ้นก่อนหน้าคำสั่งซื้อที่ได้คาดการณ์ไว้ประมาณ
สามเดือน หลังจากนั้น บริษัทฯ จะใส่ข้อมูลเดิมและข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งข้อมูลราคาลงในระบบโปรแกรมการ
(ยังมีต่อ)