SET Announcements
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับปี 2551
02 March 2009
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย)
จำกัด (มหาชน) สำหรับไตรมาส 4 ปี 2551 และสำหรับปี 2551
1. ข้อมูลทางการเงินและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
4Q 2008 4Q 2007 2008 2007
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 136.0 147.1 138.1 144.3
ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 71 96 316 408
อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลล่าร์) 34.8 33.9 33.4 34.6
ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) -28.3 9.0 -2.3 7.3
กำไรขั้นต้นของพาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) n/a n/a -81 178
รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 38,184 54,799 222,234 199,904
กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) -13,147 4,231 -4,159 15,048
กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคาและ
ค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) -13,892 3,371 -7,058 12,603
กำไรสุทธิ (ล้านบาท) -10,255 3,504 -6,864 7,054
กำไรต่อหุ้น (บาท) (1) -2.96 1.34 -2.16 6.57
กำไรต่อหุ้นปรับปรุง (บาท) (2) -2.96 1.01 -1.98 2.04
(1) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา
ไตรมาส 4 ปี 2550 2,610 ล้านหุ้น
สำหรับปี 2550 1,074 ล้านหุ้น
ไตรมาส 4 ปี 2551 3,461 ล้านหุ้น
สำหรับ ปี 2551 3,174 ล้านหุ้น
(2) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน 3,461 ล้านหุ้น
1
2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
สรุปราคาเฉลี่ย Platts สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป
หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 4Q 2008 3Q 2008 4Q 2007 2008 2007
Dubai 52.6 113.3 83.2 93.6 68.4
Tapis 59.7 125.2 93.4 104.2 77.9
น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 56.3 119.3 95.8 102.6 82.9
น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด 74.7 142.1 105.9 121.4 86.9
น้ำมันดีเซล (0.5%S) 70.3 139.0 102.6 119.5 85.1
น้ำมันเตา (180 cs) 44.8 102.5 73.2 78.6 58.0
LPG 47.9 77.7 67.0 68.7 53.9
พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) 673 1,348 1,075 1,119 1,100
เบนซิน (ออกเทน 95)
-(ดอลลาร์ต่อตัน) (1) 479 1,014 814 872 704
ที่มา: Mean of Platts Singapore and PCI
(1)
แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากในไตรมาส 4 ปี 2551 โดยราคา
น้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงกว่า 60% จากต้นไตรมาสที่ 94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลไปอยู่ที่ 37
ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล ณ สิ้นไตรมาส ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ราคาน้ำมันดิบดูไบและ
ทาปิสเฉลี่ยสำหรับไตรมาส 4 อยู่ที่ 52.6 และ 59.7ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตามลำดับ
ลดลงเป็นอย่างมากจากไตรมาส 3 ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบและทาปิส สำหรับปี 2551
อยู่ที่ 93.6 และ 104.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตามลำดับ
ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำหรับไตรมาส 4 ได้รับผลกระทบจากความต้องการ
ใช้น้ำมันที่ลดลงทั่วโลก ราคาน้ำมันเบนซิน น้ำมันอากาศยานและน้ำมันดีเซลสำหรับไตรมาสที่ 4
ปี 2551 นั้นปรับตัวลดลง มากกว่าราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาน้ำมันเตาปรับลดลง
น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่ลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจาณาทั้งปี ราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลและน้ำมัน
อากาศยานเฉลี่ยทั้งปี 2551 นั้นยังคงสูงกว่าปี 2550 เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยาน
ในช่วงครึ่งปีแรกซึ่งอยู่ในระดับสูงมาก ส่วนราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันเตาเฉลี่ยทั้งปีนั้นปรับตัวสูงขึ้น
น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับราคาขายน้ำมันปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในประเทศยังคง
อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล โดยมีราคาหน้าโรงกลั่นที่ 11 บาทต่อกิโลกรัม (320 ดอลลาร์ต่อตัน
หรือประมาณ 28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล)
ส่วนต่างระหว่างราคาพาราไซลีน(Asian contract price) และน้ำมันเบนซินนั้นลดลง
ในไตรมาส 4รวมทั้งในปี 2551 อันเกิดจากความต้องการใช้กรดเทเรฟทาลิก
(Purified terephthalic acid, PTA) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตแผ่นฟิล์ม บรรจุภัณฑ์
ผ้าใยสังเคราะห์ ฯลฯ ลดลง รวมถึงภาวะอุปทานส่วนเกินสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อันเนื่องมาจาก
กำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
2
3. การผลิตและค่าการกลั่น
4Q 2008 4Q 2007 +/(-) 2008 2007 +/(-)
กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 - 177.0 177.0 -
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น
(พันบาร์เรลต่อวัน) 136.0 147.1 -11.1 138.1 144.3 -6.2
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น (%)
- น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา (%) (1) 35.4% 33.7% 1.7% 35.4% 34.6% 0.8%
- น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก (%) 49.0% 52.9% -3.9% 50.6% 51.1% -0.5%
- น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก (%) 15.6% 13.4% 2.2% 14.0% 14.3% -0.3%
ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 71 96 -25 316 408 -92
กำไรขั้นต้นของพาราไซลีน
(ดอลลาร์ต่อตัน) n/a n/a - -81 178 -259
ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) -28.3 9.0 -37.3 -2.3 7.3 -9.6
(1)
ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นในไตรมาส 4 ปี 2551 ต่ำกว่าไตรมาส 4 ปี 2550
เนื่องมาจากค่าการกลั่นที่ปรับตัวลดลง ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นในช่วงครึ่งปีแรกซึ่งสูงนั้น
เนื่องมาจากค่าการกลั่นอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นในช่วงครึ่งปีหลัง
นั้นลดลงเนื่องจากมีการหยุดหน่วยกลั่นบางหน่วยตามกำหนดการที่วางไว้ รวมถึงค่าการกลั่นที่
ปรับตัวลดลง ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 138.1 พันบาร์เรลต่อวัน หรือ
6.2 พันบาร์เรลต่อวันต่ำกว่าปี 2550
ปริมาณการผลิตพาราไซลีนในไตรมาส 4 ปี 2551 ต่ำว่าในไตรมาส 4 ปี 2550
เนื่องจากกำไรขั้นต้นของอุตสาหกรรมพาราไซลีนลดลงและทำให้การเพิ่มระดับการผลิตไม่คุ้มค่า
ปี 2551 บริษัทฯ มีปริมาณการผลิตพาราไซลีนทั้งสิ้น 316,000 ตัน ซึ่งถือเป็นจำนวน 102,000 ตัน
ต่ำกว่าในปี 2550
ค่าการกลั่นสำหรับไตรมาส 4 ปี 2551 อยู่ที่ -28.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับ
9.0 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 4 ปี 2550 ค่าการกลั่นที่ติดลบนั้นเกิดจากผลขาดทุนจาก
สต็อกน้ำมันอันเกิดจากการที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก ค่าการกลั่นสำหรับปี 2551
อยู่ที่ -2.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับ 7.3 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลในปี 2550
บริษัทฯ มีขาดทุนขั้นต้นของพาราไซลีน 81ดอลลาร์ต่อตันในปี 2551เนื่องมาจากสภาวะ
อุตสาหกรรมที่อ่อนตัวลง
สัดส่วนของน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักลดลงในไตรมาส 4 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ในปีก่อนหน้า เนื่องจากผลตอบแทนจากการขายน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยานได้ปรับตัวลดลง อย่างไรก็
ตาม จากการที่บริษัทฯ ได้ผลิตน้ำมันดีเซลในปริมาณที่สูงในช่วงครึ่งปีแรกซึ่งเป็นช่วงที่ผลตอบแทนของ
น้ำมันดีเซลอยู่ในระดับสูง ทำให้เมื่อเปรียบเทียบทั้งปี สัดส่วนน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักไม่เปลี่ยนแปลง
จากปีก่อนหน้า
3
4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 4 ปี 2551 และประจำปี 2551
(หน่วย: ล้านบาท)
4Q 2008 4Q 2007 +/(-) 2008 2007 +/(-)
รายได้จากการขาย
38,184 54,799 (16,615) 222,234 199,904 22,330
ต้นทุนขาย
(51,331) (50,568) (763) (226,393) (184,856) (41,537)
กำไรขั้นต้น
(13,147) 4,231 (17,378) (4,159) 15,048 (19,207)
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
(1,247) (1,325) 78 (4,874) (4,425) (449)
กำไรจากการขาย
(14,394) 2,906 (17,300) (9,033) 10,623 (19,656)
บันทึก:
- การกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่าย(12,679) 2,688 (15,367) (7,169) 8,970 (16,139)
น้ำมัน
- ปิโตรเคมี (1,715) 218 (1,933) (1,864) 1,653 (3,517)
รายได้อื่น
6 18 (12) 87 111 (24)
กำไรจากการดำเนินงาน
(14,388) 2,924 (17,312) (8,946) 10,734 (19,680)
รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการ
ดำเนินงาน - - - - 430 (430)
ส่วนแบ่งกำไร
52 36 16 218 184 34
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้
(14,336) 2,960 (17,296) (8,728) 11,348 (20,076)
ดอกเบี้ยรับ
7 13 (6) 55 146 (91)
ดอกเบี้ยจ่าย
(362) (224) (138) (1,244) (3,448) 2,204
กำไรก่อนภาษีเงินได้ (14,691) 2,749 (17,440) (9,917) 8,046 (17,963)
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
4,436 755 3,681 3,053 (992) 4,045
กำไรสุทธิ
(10,255) 3,504 (13,759) (6,864) 7,054 (13,918)
กำไรขั้นต้นสำหรับไตรมาส 4 ปี 2551 ได้รับผลกระทบจากค่าการกลั่นและกำไรขั้นต้นของ
พาราไซลีนนั้นลดลงเป็นอย่างมาก บริษัทฯ มีค่าการกลั่นที่ติดลบอันเกิดจากขาดทุนจากสต็อกน้ำมันอันเนื่อง
มาจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากเป็นหลัก และผลกระทบจากการขาดทุนสต็อกน้ำมันอย่าง
รุนแรงในไตรมาส 4 ทำให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนขั้นต้น 4,159 ล้านบาท เปรียบเทียบกับกำไรขั้นต้น
15,048ล้านบาทในปี 2550
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสำหรับไตรมาส 4 ปี 2551 ลดลงจากช่วงเดียวกันในปี
ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาทั้งปี บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น 449 ล้านบาทจากปี
2550 โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายของกิจการขายผลิตภัณฑ์เคมีซึ่งเดิมดำเนินการ
โดยบริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทฯได้รับโอนกิจการดังกล่าวมาเมื่อเดือน
กันยายน 2550 รวมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการขาย
รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้แก่ เงินปันผลที่ได้รับจากการถือหุ้น
บริษัทการบินเชื้อเพลิงกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และรายได้จากการขายซากเครื่องจักรหรือที่ดิน
4
รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานสำหรับปี 2550 เป็นรายได้ที่เกิดจากการรับรู้กำไร
รอตัดบัญชีจากการขายและเช่าสินทรัพย์กลับคืนที่บริษัทได้เข้าทำสัญญาในปี 2543 กับบริษัทเอ็กซอนโมบิล
เคมี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งบริษัทฯ ไม่มีรายได้ตั้งแต่ในไตรมาส 4 ปี 2550 เป็นต้นมาอันเป็นผล
มาจากการที่บริษัทรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัดดังกล่าวข้างต้น
ยอดเงินกู้ของบริษัทฯ สำหรับไตรมาส 4 ปี 2551 นั้นต่ำกว่า ไตรมาส 4 ปี 2550 อย่างไรก็ดี
ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าทำให้บริษัทฯ มีดอกเบี้ยจ่ายสำหรับไตรมาส 4 ปี 2551 ซึ่งสูงกว่าเป็นจำนวน
138 ล้านบาท ในส่วนของดอกเบี้ยจ่ายสำหรับทั้งปีนั้นลดลงเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2550 ซึ่งเป็นผลมา
จากการลดลงของยอดหนี้สินอันเนื่องมาจากการชำระคืนหนี้สินจากเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนในเดือน
กันยายน 2550 เงินที่ได้จากการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม 2551 และเงินที่ได้
จากการดำเนินงานปกติ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงอันเนื่องมาจากการจัดหาเงินกู้ใหม่เพื่อทดแทนเงินกู้
เดิม(refinancing) ในเดือนธันวาคม 2550
อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับไตรมาส 4 คือ อัตราร้อยละ 30 ในขณะที่ไตรมาส 4 ปี
2550 บริษัทฯ มีเครดิตภาษีเป็นจำนวน 755 ล้านบาทซึ่งเกิดจากการกลับรายการภาษีเงินได้รอตัดบัญชีหลัง
จากที่บริษัทฯ มีการจัดหาเงินกู้ใหม่เพื่อทดแทนเงินกู้เดิม ซึ่งจำนวนของเครดิตภาษีดังกล่าวนั้นมากกว่า
จำนวนภาษีจ่ายจากรายได้ อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 31 ซึ่งรวมถึงการรับรู้
รายได้ของบริษัทฯร่วมซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับปี 2550 คือร้อยละ 12
อันเกิดจากการกลับรายการภาษีเงินได้และรายได้จากธุรกิจอะโรเมติกส์ซึ่งบริษัทได้รับสิทธิประโยชน์
ยกเว้นภาษีเงินได้จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย ซึ่งสิทธิประโยชน์นี้ได้สิ้นสุดลง
ณ วันที่ 10 กันยายน 2550
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้บริษัทฯ มีขาดทุนสุทธิในไตรมาส 4 ปี 2551 เป็นจำนวน
10,255 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13,759 ล้านบาทต่ำกว่าในไตรมาส 4 ปี 2550 และบริษัทฯ มีขาดทุน
สุทธิสำหรับปี 2551 เป็นจำนวน 6,864 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13,918 ล้านบาท ต่ำกว่าปี 2550
5
5. งบดุล
(หน่วย: ล้านบาท ยกเว้นหน่วยร้อยละ)
31 ธ.ค. 51 31 ธ.ค.50 + / (-) + / (-)%
สินทรัพย์
-สินทรัพย์หมุนเวียน 18,434 36,482 (18,048) -50%
-สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 36,636 34,332 2,304 7%
รวมสินทรัพย์ 55,070 70,814 (15,744) -22%
หนี้สิน
-หนี้สินหมุนเวียน 33,682 34,408 (726) -2%
-หนี้สินไม่หมุนเวียน 968 12,011 (11,043) -92%
รวมหนี้สิน 34,650 46,419 (11,769) -25%
ส่วนของผู้ถือหุ้น
-ทุนที่ออกและชำระแล้ว 17,075 12,877 4,198 33%
-ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,032 0 4,032 -
-กำไรสะสม (802) 11,254 (12,056) -107%
- ส่วนเกินจากการตีมูลค่า
ยุติธรรม 108 257 (149) -58%
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - -
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 20,420 24,395 (3,975) -16%
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 55,070 70,814 (15,744) -22%
ณ สิ้นปี 2551 สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง 18,048 ล้านบาท จากสิ้นปี 2550 เนื่องจากยอดลูกหนี้
และสินค้าคงเหลือลดลงอันป็นผลมาจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับการลดลง
ของยอดภาษีขอคืนซึ่งบริษัทฯ ได้รับชำระคืน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 2,304 ล้านบาทจากภาษีเงิน
ได้รอตัดบัญชีที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากบริษัท ฯ มียอดขาดทุนสุทธิในปี 2551
หนี้สินไม่หมุนเวียนลดลง 11,043 ล้านบาทเนื่องจากส่วนของหนี้สินระยะยาวที่จะครบกำหนด
ภายใน 1 ปี เป็นจำนวน 2,750 ล้านบาทได้ถูกปรับย้ายไปรวมกับหนี้สินหมุนเวียน และเงินกู้ระยะยาว
จำนวน 8,250 ล้านบาทได้จัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35
โดยมีคำอธิบายตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 16 บริษัทฯ มียอดเงินกู้ทั้งสิ้น 27,971 ล้านบาท
ณ สิ้นปี 2551
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 3,975 ล้านบาท เนื่องจากผลขาดทุนสุทธิสำหรับปี 2551 จำนวน
6,864ล้านบาท เงินปันผลจ่ายรวมทั้งสิ้น 5,191 ล้านบาท ( 1 บาทต่อหุ้นซึ่งจ่ายในเดือนมิถุนายน
และ 0.5 บาท ต่อหุ้นซึ่งจ่ายในเดือนกันยายน) และผลขาดทุนจากการตีมูลค่ายุติธรรม 149 ล้านบาท
ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีทุนที่ออกและชำระแล้ว รวมถึงส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น 8,230 ล้านบาทจากการ
จำหน่ายหุ้นที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไป (Initial Public Offering, IPO)
6
6. อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราส่วนกำไร
4Q 2008 3Q 2008 4Q 2007 2008 2007
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) -34.4% -6.0% 7.7% -1.9% 7.5%
อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) -26.9% -5.7% 6.4% -3.1% 3.5%
อัตราส่วนความสามารถในการ
ชำระดอกเบี้ย (เท่า) N/A N/A 15.4 N/A 3.7
อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
31 ธ.ค.2551 30 ก.ย. ณ 31 ธ.ค.
2551 2550
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 0.5 1.3 1.1
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.1 0.2 0.3
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.4 1.0 1.4
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
(เท่า) 0.0 0.3 0.5
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
(เท่า) 1.3 1.0 1.4
ที่มาในการคำนวณ
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย
อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย
อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น+
ลูกหนี้การค้า) / หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย - เงินสดและรายการ
เทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น
ชื่อ: แดเนียล อี ไลออนส์
ตำแหน่ง: กรรมการผู้จัดการ
วันที่: 2 มีนาคม 2552
7