เปลี่ยนแปลงขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

05 March 2009
F 24-1 แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีมติดังต่อไปนี้ แต่งตั้ง/ต่อวาระ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ คือ (1) (2) (3) (4) โดยการแต่งตั้ง/ต่อวาระ ให้มีผล ณ วันที่ กำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ แก้ไขขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบเดิม โดยกำหนดขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ ใหม่ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ หลักเกณฑ์ของประกาศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องคุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการ ตรวจสอบ พ.ศ. 2551 โดยการกำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบดังกล่าวให้มีผล นับแต่วันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 เป็นต้นไป คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกอบด้วย: 1. ประธานกรรมการตรวจสอบ นายสมภพ อมาตยกุล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 8 เดือน 2. กรรมการตรวจสอบ นายสมิทธิ์ เทียมประเสริฐ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 8 เดือน 3. กรรมการตรวจสอบ นางวัธนี พรรณเชษฐ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 8 เดือน เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ นายชัย แจ้งศิริกุล พร้อมนี้ได้แนบหนังสือรับรองประวัติของกรรมการตรวจสอบจำนวน 1 ท่านมาด้วย โดยกรรมการตรวจสอบลำดับที่ 3 มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ 1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (internal control) และระบบการตรวจสอบภายใน (internal audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบ ภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย และถอดถอนหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในหรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีภายนอกของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีภายนอกโดยไม่มีฝ่ายจัดการ เข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 6. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบและต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท (ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน (ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎ บัตร (charter) และ (ซ) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ 8. รายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทเพื่อปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร หากคณะกรรมการตรวจสอบมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทให้คณะกรรมการตรวจสอบ (ก) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ข) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน (ค) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 9. เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้สอบบัญชีภายนอกของบริษัทถึงพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบุคคล ดังกล่าวได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องระบุไว้ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการสอบทานโดยไม่ชักช้าและหากพบว่าพฤติการณ์ดังกล่าวน่า สงสัยตามที่ผู้สอบัญชีแจ้ง ให้รายงานผลการสอบทานดังกล่าวไปยังคณะกรรมการของบริษัทเพื่อให้คณะกรรมการของบริษัทรายงานผลการสอบทานดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือผู้สอบบัญชีภายนอก หรือรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือผู้สอบบัญชีภายนอก ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนดภายในสามสิบวัน บริษัทขอรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ดังนี้ 1. กรรมการตรวจสอบมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด 2. ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้างต้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ลงชื่อ กรรมการ (นายแดเนียล อี. ไลอ้อนส์) (ตราประทับ)