SET Announcements
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงินสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552
15 May 2009
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
(มหาชน) สำหรับไตรมาส 1 ปี 2552
1. ข้อมูลทางการเงินและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 1
ปี 2552 ปี 2551
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 138.1 141.2
ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 82 84
อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) 35.3 32.5
ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 8.48 6.95
รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 33,484 53,540
กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) 3,812 3,019
กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) 3,176 2,321
กำไรสุทธิ (ล้านบาท) 1,826 1,130
(1)
กำไรต่อหุ้น (บาท) 0.5 0.4
กำไรต่อหุ้นปรับปรุง (บาท) (2) 0.5 0.3
(1) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา
ไตรมาส 1 ปี 2551 2,610 million
ไตรมาส 1 ปี 2552 3,461 million
(2) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน 3,461 ล้านหุ้น
1
2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
สรุปราคาเฉลี่ย Platts สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ปี 2552 ปี 2551 ปี 2551
Dubai 44.3 52.6 91.4
Tapis 48.4 59.7 102.5
น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 54.8 56.3 105.1
น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด 55.4 74.7 114.2
น้ำมันดีเซล (0.5%S) 53.2 70.3 114.4
น้ำมันเตา (180 cs) 39.0 44.8 74.6
LPG 39.4 47.9 73.4
พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) 727 673 1,123
เบนซิน (ออกเทน 95) - (ดอลลาร์ต่อตัน) (1) 466 479 894
ที่มา: Mean of Platts Singapore and PCI
(1)
แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 1 ปี 2552 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2551 โดยราคาน้ำมันดิบดูไบใน
ไตรมาส 1 เคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 40-50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือเฉลี่ยที่ 44.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งคิดเป็น
16% ลดลงจากราคาเฉลี่ยสำหรับไตรมาส 4 ปี 2551 ราคาน้ำมันทาปิสเฉลี่ยอยู่ที่ 48.4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
หรือ 19% ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยสำหรับไตรมาส 4 ปี 2551 โดยถึงแม้ว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในไตรมาสนั้นลดลง
จากไตรมาสก่อนหน้า ราคาน้ำมันดิบ ณ สิ้นสุดไตรมาส 1 ปี 2552 นั้นเพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันดิบ ณ ปลายปี
2551 ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้นจาก 37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็น 47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคา
น้ำมันดิบทาปิสปรับตัวสูงขึ้นจาก 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็น 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชนิดกึ่งหนักกึ่งเบา ซึ่งได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันอากาศยาน ในไตรมาส 1
ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันเตาปรับลดลงน้อย
กว่าราคาน้ำมันดิบที่ลดลง สำหรับราคาขายน้ำมันปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในประเทศยังคงอยู่ภายใต้การ
ควบคุมของรัฐบาล โดยมีราคาหน้าโรงกลั่นที่ 11 บาทต่อกิโลกรัม (310 ดอลลาร์ต่อตัน หรือประมาณ 27
ดอลลาร์ต่อบาร์เรล)
ราคาพาราไซลีน(Asian contract price) สำหรับไตรมาส 1 นั้นปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2551
2
3. การผลิตและค่าการกลั่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 1
ปี 2552 ปี 2551 + / (-)
กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 -
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 138.1 141.2 (3.1)
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น (%)
(1)
-น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา (%) 33.9% 34.8% (0.9)%
-น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก (%) 50.2% 51.2% (1.0)%
-น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก (%) 15.9% 14.0% 1.9%
ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 82 84 (2)
ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 8.48 6.95 1.53
(1)
ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นและปริมาณการผลิตพาราไซลีนสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 นั้นต่ำกว่า
ปริมาณการผลิตสำหรับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้าอยู่เล็กน้อย โดยอยู่ที่ระดับ 138.1 บาร์เรลต่อวัน และ
82,000 ตันตามลำดับ
ค่าการกลั่นสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ 8.48 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าไตรมาส 1 ปี 2551
ซึ่งมีค่าการกลั่น 6.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยค่าการกลั่นดังกล่าวนั้นรวมถึงผลกำไรจากสต็อกน้ำมันอันเกิด
จากการที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาส
3
4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 1 ปี 2552 และ ไตรมาส 1 ปี 2551
(หน่วย: ล้านบาท)
ไตรมาส 1 ปี 2552 ไตรมาส 1 ปี 2551 + / (-)
รายได้จากการขาย 33,484 53,540 (20,056)
ต้นทุนขาย (29,672) (50,521) 20,849
กำไรขั้นต้น 3,812 3,019 793
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (1,126) (1,180) 54
กำไรจากการขาย 2,686 1,839 847
บันทึก:
- การกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน 2,899 1,948 951
- ปิโตรเคมี (213) (109) (104)
รายได้อื่น 12 7 5
กำไรจากการดำเนินงาน 2,698 1,846 852
ส่วนแบ่งกำไร 66 63 3
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ 2,764 1,909 855
ดอกเบี้ยรับ 2 14 (12)
ดอกเบี้ยจ่าย (205) (335) 130
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 2,561 1,587 974
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (735) (457) (278)
กำไรสุทธิ 1,826 1,130 696
รายได้จากการขายและต้นทุนขายสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 นั้นลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี
2551 ซึ่งสะท้อนถึงราคาเฉลี่ยสำหรับน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่ลดลงเป็นหลัก กำไรขั้นต้น 3,812 ล้าน
บาทในไตรมาส 1 ปี 2552 สูงกว่ากำไรขั้นต้นสำหรับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ 3,019 ล้านบาท อันเนื่องมาจาก
ค่าการกลั่นที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นหลัก
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 ลดลงเป็นจำนวน 54 ล้านบาทจากช่วง
เดียวกันในปีก่อนหน้า เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการขายและค่าขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันลดลงเป็นหลัก
กำไรจากการขายในส่วนธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 951 ล้านบาท
จากค่าการกลั่นที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนธุรกิจปิโตรเคมีนั้นมีขาดทุนจากการขายในไตรมาส 1 ปี 2552 ซึ่ง
คิดเป็นขาดทุนเพิ่มขึ้น 104 ล้านบาทจากไตรมาส 1 ปี 2551 เนื่องมาจากราคามิกซ์ไซลีนซึ่งเป็นวัตถุดิบ
สำหรับผลิตพาราไซลีนยังคงอยู่ในระดับที่สูง ประกอบกับปริมาณการขายและกำไรขั้นต้นจากผลิตภัณฑ์เคมี
อื่นๆ นั้นปรับตัวลดลง
ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 ลดลง 39% จากไตรมาส 1 ปี 2551 หรือเป็นจำนวน 130
ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการลดลงของยอดหนี้สิน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง
อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับไตรมาส 1 คือ อัตราร้อยละ 29 เนื่องจากรายได้บางส่วนจากบริษัทฯ
ร่วมเป็นรายได้ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2551 เป็นจำนวน
ร้อยละ 62 โดยมีกำไรสุทธิ 1,826 ล้านบาท เทียบกับ กำไรสุทธิ 1,130 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2551
4
5. งบดุล
(หน่วย: ล้านบาท ยกเว้นหน่วยร้อยละ)
31 มี.ค.52 31 ธ.ค.51 + / (-) + / (-) %
สินทรัพย์
- สินทรัพย์หมุนเวียน 22,199 18,434 3,765 20%
- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 35,900 36,636 (736) -2%
รวมสินทรัพย์ 58,099 55,070 3,029 6%
หนี้สิน
- หนี้สินหมุนเวียน 26,596 33,682 (7,086) -21%
- หนี้สินไม่หมุนเวียน 9,255 968 8,287 856%
รวมหนี้สิน 35,851 34,650 1,201 3%
ส่วนของผู้ถือหุ้น
- ทุนที่ออกและชำระแล้ว 17,075 17,075 - -
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,032 4,032 - -
- กำไรสะสม 1,023 (803) 1,826 227%
- ส่วนเกินจากการตีมูลค่า
ยุติธรรม 111 108 3 3%
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - -
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 22,248 20,420 1,828 9%
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 58,099 55,070 3,029 6%
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 3,765 ล้านบาท จากสิ้นปี 2551 โดยหลัก
เนื่องมาจากยอดลูกหนี้และสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นอันป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่
ปรับตัวสูงขึ้น
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนลดลง 736 ล้านบาท อันเนื่องมาจากยอดกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552
ส่งผลให้ยอดภาษีเงินได้รอตัดบัญชีลดลง
ส่วนของหนี้สินระยะสั้นลดลงเป็นจำนวน 7,086 ล้านบาท จากการชำระคืนหนี้เงินกู้หมุนเวียนระยะสั้น
จำนวน 3,673 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2552 และหนี้เงินกู้ระยะยาวจำนวน 8,250 ล้านบาทซึ่งถูกจัดประเภท
เป็นหนี้สินหมุนเวียนในไตรมาส 4 ปี 2551นั้นได้ถูกจัดเป็นเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนในไตรมาส 1 ปี 2552
ดังคำอธิบายตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 10 ในขณะที่เจ้าหนี้ในส่วนกิจการที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วน
นี้เป็นยอดเจ้าหนี้สำหรับการซื้อน้ำมันดิบเป็นหลัก
กำไรสะสมเพิ่มขึ้นเท่ากับยอดกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 จำนวน 1,826 ล้านบาท
5
6. อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราส่วนกำไร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 1
ปี 2552 ปี 2551
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) 11.4% 5.6%
อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) 5.5% 2.1%
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เท่า) 15.5 6.9
อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
31 มี.ค.52 31 ธ.ค.51
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 0.8 0.5
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.2 0.1
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.1 1.4
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.4 0.0
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.1 1.3
ที่มาในการคำนวณ
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย
อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย
อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น
+ ลูกหนี้การค้า) / หนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม = หนี้เงินกู้ระยะสั้น + หนี้เงินกู้ระยะยาว
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม/ ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย - เงินสดและรายการ
เทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น
ชื่อ: แดเนียล อี ไลออนส์
ตำแหน่ง: กรรมการผู้จัดการ
วันที่: 15 พฤษภาคม 2552
6