คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน ไตรมาส 3/2552

16 November 2009
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับไตรมาสสาม ปี 2552 และระยะเวลา 9 เดือนสิ้นสุด 30 กันยายน 2552 1. ข้อมูลทางการเงินและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 งวด 9 เดือน งวด 9 เดือน ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551 ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น 124.0 126.6 135.0 138.8 (พันบาร์เรลต่อวัน) ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 87 69 286 244 อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) 34.0 33.9 34.7 32.9 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) -1.3 -11.7 6.8 6.7 รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 42,291 62,263 118,081 184,050 กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) 370 -3,715 10,402 8,927 กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม ราคาและค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) -321 -4,434 8,412 6,834 กำไรสุทธิ (ล้านบาท) -571 -3,554 4,813 3,391 (1) กำไรต่อหุ้น (บาท) -0.16 -1.03 1.39 1.10 (2) กำไรต่อหุ้นปรับปรุง(บาท) -0.16 -1.03 1.39 0.98 (1) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา - งวด 9 เดือนของ ปี 2551 3,077 ล้านหุ้น - ไตรมาสสาม ปี 2551, ไตรมาสสาม ปี 2552 3,461 ล้านหุ้น และ งวด 9 เดือนของ ปี 2552 (2) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน 3,461 ล้านหุ้น 1 2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สรุปราคาเฉลี่ย Platts สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส งวด 9 งวด 9 หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 3 ปี 3 ปี 2 ปี เดือน เดือน 2552 2551 2552 ปี 2552 ปี 2551 Dubai 67.9 113.3 59.1 57.1 107.2 Tapis 71.6 125.2 61.7 60.6 119.1 น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 76.9 119.3 68.7 66.8 118.1 น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด 75.2 142.1 66.5 65.7 136.9 น้ำมันดีเซล (0.5%S) 74.9 139.0 66.2 64.8 136.0 น้ำมันเตา (180 cs) 64.9 102.5 53.3 52.4 89.9 LPG 47.7 77.7 36.2 41.1 75.6 พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) 1,013 1,348 957 899 1,267 เบนซิน (ออกเทน 95) - (ดอลลาร์ต่อตัน) (1) 653 1,014 584 568 1,004 ที่มา: Mean of Platts Singapore and PCI (1) แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล ราคาน้ำมันดิบไตรมาส 3 ปี 2552 ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาในไตรมาส 2 ประมาณ 9 - 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 67.9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบทาปิส เฉลี่ยอยู่ที่ 71.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ระดับราคานี้ยังคงต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในไตรมาส 3 ของปี 2551 ซึ่งราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 113.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบทาปิสเฉลี่ยอยู่ที่ 125.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในไตรมาส 3 ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 2 สอดคล้องกับการ ปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบ ยกเว้นราคาน้ำมันปิโตรเลียมเหลว (LPG) ที่ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของ รัฐบาล โดยราคาหน้าโรงกลั่นถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2552 อยู่ที่ 11 บาทต่อกิโลกรัม (324 ดอลลาร์ต่อตัน หรือประมาณ 28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 11.4 บาทต่อกิโลกรัม (336 ดอลลาร์ต่อตัน หรือประมาณ 29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) ในเดือนกันยายน ราคาพาราไซลีน (Asian contract price) สำหรับไตรมาส 3 ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจาก ไตรมาส 2 อยู่ที่ระดับ 1,013 ดอลลาร์ต่อตัน หากแต่ราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าการปรับตัวของราคา พาราไซลีน จึงส่งผลให้ กำไรขั้นต้นของอุตสาหกรรมพาราไซลีนปรับตัวลดลงในไตรมาสนี้ 2 3. การผลิตและค่าการกลั่น ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 งวด 9 เดือน งวด 9 เดือน +/(-) ปี 2552 ปี 2551 +/(-) ปี 2552 ปี 2551 กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 - 177.0 177.0 - ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 124.0 126.6 -2.6 135.0 138.8 -3.8 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น (%) (1) - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา (%) 35.6% 37.0% -1.4% 34.8% 35.5% -0.7% - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก(%) 50.4% 47.6% 2.8% 50.4% 51.1% -0.7% - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก (%) 14.0% 15.4% -1.4% 14.8% 13.4% 1.4% ปริมาณการผลิตพาราไซลีน(พันตัน) 87 69 18 286 244 42 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) -1.3 -11.7 10.4 6.8 6.7 0.1 (1) ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์ ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นสำหรับไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ 124.0 พันบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่า ไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ 2.6 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องมาจากการอ่อนตัวของผลกำไรจากการกลั่นน้ำมันดิบ (crude economics) ประกอบกับบริษัทฯ มีขอบข่ายงานซ่อมบำรุงโรงกลั่นที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ บริษัทฯ ผลิตพาราไซลีนจำนวน 87 พันตันในไตรมาส 3 ปี 2552 มากกว่าในไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ 18 พันตัน เป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของกำไรขั้นต้นของอุตสาหกรรมพาราไซลีน ค่าการกลั่นสำหรับไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ -1.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับค่าการกลั่นที่-11.7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 3 ปี 2551 ค่าการกลั่นที่ดีขึ้นเนื่องมาจากการมีผลขาดทุนจากสต็อกน้ำมันที่ น้อยลงมาก โดยมีบางส่วนหักกับค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมที่อ่อนตัวลง สัดส่วนของน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักในไตรมาส 3 ปี 2552 เท่ากับ 50.4% สอดคล้องกับสัดส่วน การผลิตในครึ่งปีแรกของบริษัทฯ ในขณะที่สัดส่วนของน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักที่เห็นในไตรมาส 3 ปี 2551 เป็นผลมาจากการอ่อนตัวของความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในไตรมาส 3 ปีที่แล้ว 3 4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 3 ปี 2552 และ ปี 2551 (หน่วย: ล้านบาท) ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 งวด 9เดือน งวด 9 เดือน ปี 2552 ปี 2551 + / (-) ปี 2552 ปี 2551 + / (-) รายได้จากการขาย 42,291 62,263 (19,972) 118,081 184,050 (65,969) ต้นทุนขาย (41,921) (65,978) 24,057 (107,679) (175,123) 67,444 กำไรขั้นต้น 370 (3,715) 4,085 10,402 8,927 1,475 ค่าใช้จ่ายในการขาย (1,072) (1,089) 17 (3,153) (3,227) 74 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (127) (131) 4 (334) (339) 5 กำไรจากการขาย (829) (4,935) 4,106 6,915 5,361 1,554 บันทึก: - การกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน (995) (5,024) 4,029 6,484 5,510 974 - ปิโตรเคมี 166 89 77 431 (149) 580 รายได้อื่น 23 56 (33) 57 81 (24) กำไรจากการดำเนินงาน (806) (4,879) 4,073 6,972 5,442 1,530 ส่วนแบ่งกำไร 58 45 13 193 166 27 กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ (748) (4,834) 4,086 7,165 5,608 1,557 ต้นทุนทางการเงิน-สุทธิ (111) (260) 149 (432) (834) 402 กำไรก่อนภาษีเงินได้ (859) (5,094) 4,235 6,733 4,774 1,959 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 288 1,540 (1,252) (1,920) (1,383) (537) กำไร/(ขาดทุน)สุทธิ (571) (3,554) 2,983 4,813 3,391 1,422 รายได้จากการขายและต้นทุนขายสำหรับไตรมาส 3 ปี 2552 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งสะท้อนถึงราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่ลดลง ประกอบกับปริมาณการขายที่ลดลง กำไรขั้นต้นในไตรมาส 3 ปีนี้ สูงกว่ากำไรขั้นต้นสำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 เป็นจำนวน 4,085 ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องมาจากการมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันที่ลดลง หักกับค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมที่ลดลง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสำหรับไตรมาส 3 ปี 2552 เท่ากับ 1,199 ล้านบาท ต่ำกว่า ช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ที่ 1,220 ล้านบาท เล็กน้อย บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการขายสำหรับไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ 829 ล้านบาท เทียบกับ ผลขาดทุนจากการขาย 4,935 สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 ผลขาดทุนที่ลดลงเป็นจำนวน 4,106 ล้านบาท เป็นผลมาจากการขาดทุนลดลงของส่วนธุรกิจการกลั่นและการจัดจำหน่ายน้ำมัน ประกอบกับส่วนธุรกิจปิโตรเคมี ที่มีกำไรดีขึ้น การปรับตัวสูงขึ้นของผลประกอบการธุรกิจปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ เป็นเพราะอุตสาหกรรม พาราไซลีนมีกำไรจากการผลิตดีขึ้น ปริมาณการผลิตพาราไซลีนเพิ่มขึ้น หักกับกำไรที่ลดลงจากเคมีภัณฑ์อี่นๆ 4 ต้นทุนทางการเงินสุทธิสำหรับไตรมาส 3 ปี 2552 เท่ากับ 111 ล้านบาท ลดลง 57% จาก ไตรมาส 3 ปี 2551 อันเป็นผลมาจากการลดลงของยอดหนี้สิน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้บริษัทฯ ขาดทุนสุทธิ 571 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2552 เทียบกับขาดทุนสุทธิ 3,554 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2551 5 5. งบดุล (หน่วย: ล้านบาท ยกเว้นหน่วยร้อยละ) ณ 30 ก.ย. ณ 30 มิ.ย. 52 52 + / (-) + / (-) % สินทรัพย์ - สินทรัพย์หมุนเวียน 25,540 28,667 (3,127) (11%) - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 35,273 34,627 646 2% รวมสินทรัพย์ 60,813 63,294 (2,481) (4%) หนี้สิน - หนี้สินหมุนเวียน 28,427 29,545 (1,118) (4%) - หนี้สินไม่หมุนเวียน 7,959 7,914 45 1% รวมหนี้สิน 36,386 37,459 (1,073) (3%) ส่วนของผู้ถือหุ้น - ทุนที่ออกและชำระแล้ว 17,075 17,075 - - - ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,032 4,032 - - - กำไรสะสม 3,144 4,580 (1,436) (31%) - ส่วนเกินจากการตีมูลค่า 169 141 28 20% ยุติธรรม ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 24,427 25,835 (1,408) (5%) รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 60,813 63,294 (2,481) (4%) ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 บริษัทฯมีสินทรัพย์หมุนเวียนลดลง 3,127 ล้านบาทจากไตรมาสที่ผ่าน มา โดยหลักเนื่องมาจากบริษัทฯ มียอดสินค้าคงเหลือที่ลงลง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 646 ล้านบาท เนื่องมาจากบริษัทมียอดที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สูงขึ้น และ ยอดภาษีเงินได้รอตัดบัญชีเพิ่มขึ้น บริษัทฯ มีหนี้สินหมุนเวียนจำนวน 28,427 ล้านบาท ลดลง 1,118 ล้านบาท เนื่องจาก ยอดเจ้าหนี้ สำหรับการซื้อน้ำมันดิบลดลง หักกับ ยอดเงินกู้ยืมระยะสั้นที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่หนี้สินไม่หมุนเวียนจำนวน 7,959 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45 ล้านบาทเทียบกับยอดในไตรมาส 2 ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงจำนวน 1,408 ล้านบาท โดยหลักเป็นผลมาจากยอดขาดทุนสุทธิสำหรับ ไตรมาส 3 ปี 2552 จำนวน 571 ล้านบาท และ การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไรสะสมของบริษัทฯ จำนวน 865 ล้านบาท 6 6. อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนกำไร ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 ไตรมาส 2 งวด 9 เดือน งวด 9 เดือน ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2552 ปี 2551 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) 0.9% -6.0% 14.8% 8.8% 4.9% อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) -1.4% -5.7% 8.4% 4.1% 1.8% อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย(เท่า) -2.9 -16.7 46.3 19.3 7.7 อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 30 ก.ย. 52 ณ 30 มิ.ย. 52 ณ 31 ธ.ค. 51 อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 0.9 1.0 0.5 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.2 0.2 0.1 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.0 0.9 1.4 อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(เท่า) 0.3 0.3 0.0 อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.0 0.9 1.3 ที่มาในการคำนวณ อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น + ลูกหนี้การค้า) / หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม = หนี้เงินกู้ระยะสั้น + หนี้เงินกู้ระยะยาว อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย - เงินสดและรายการ เทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น ชื่อ : โรเบิร์ต ไมเคิล คูเปอร์ ตำแหน่ง : กรรมการผู้จัดการ วันที่: 16 พฤศจิกายน 2552 7