SET Announcements
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน ไตรมาส 1 ปี2553
14 May 2010
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
(มหาชน) สำหรับไตรมาส 1 ปี 2553
1. ข้อมูลทางการเงินและผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 1
ปี 2553 ปี 2552
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 115.9 138.1
ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 80 82
อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) 32.9 35.3
ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 2.24 8.48
รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 43,501 33,484
กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) 1,441 3,769
กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคาและ
ค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) 779 3,176
กำไรสุทธิ (ล้านบาท) 249 1,826
(1)
กำไรต่อหุ้น (บาท) 0.07 0.53
(1) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน 3,461 ล้านหุ้น
1
2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
สรุปราคาเฉลี่ย Platts สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป
ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ไตรมาส 4
หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ปี 2553 ปี 2552 ปี 2552
น้ำมันดิบดูไบ 75.8 44.3 75.4
น้ำมันดิบทาปิส 79.5 48.4 77.8
น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 88.5 54.8 80.5
น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด 85.2 55.4 82.8
น้ำมันดีเซล (0.5%S) 84.8 53.2 81.7
น้ำมันเตา (180 cs) 72.8 39.0 70.9
LPG 64.4 39.4 58.0
พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) 1,055 727 953
(1)
เบนซิน (ออกเทน 95) - (ดอลลาร์ต่อตัน) 752 466 684
ที่มา: Mean of Platts Singapore and PCI
(1) แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบไตรมาส 1 ปี 2553 เฉลี่ยอยู่ในระดับเดียวกับราคาน้ำมันดิบไตรมาส 4 ปี 2552 หากแต่
เป็นระดับราคาที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า ราคาน้ำมันดิบดูไบสำหรับไตรมาสนี้
เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงราคา 70 - 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เฉลี่ยอยู่ที่ 75.8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่าราคา
ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ประมาณ 1% สำหรับน้ำมันดิบทาปิสมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 79.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่า
ราคาไตรมาส 4 ปีที่แล้ว 2%
ราคาผลิตภัณฑ์โดยรวมในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้น โดยที่ราคาน้ำมันอากาศยาน ราคาน้ำมันดีเซล
และราคาน้ำมันเตาปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 3% - 4% จากไตรมาสก่อน ส่วนราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวสูงขึ้น
มากกว่า ที่ประมาณ 10% ทั้งนี้ส่งผลให้ค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้เพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคาน้ำมัน
ปิโตรเลียมเหลว (LPG) ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล โดยราคาหน้าโรงกลั่นในไตรมาส 1 เฉลี่ยอยู่ที่
11.1 บาทต่อกิโลกรัม (336 ดอลลาร์ต่อตัน หรือ 29 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล)
ราคาพาราไซลีน (Asian contract price) สำหรับไตรมาส 1 ปี 2553 อยู่ที่ 1,055 ดอลลาร์ต่อตัน
ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 4 ปี 2552
2
3. การผลิตและค่าการกลั่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 + / (-)
ปี 2553 ปี 2552
กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 -
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 115.9 138.1 -22.2
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น (%)
(1)
- น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา (%) 32.6% 33.9% -1.3%
- น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก (%) 51.8% 50.2% 1.6%
- น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก (%) 15.6% 15.9% -0.3%
ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 80 82 -2
ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 2.24 8.48 -6.24
(1)
ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์
น้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นในไตรมาส 1 ปี 2553 อยู่ที่ 115,900 บาร์เรลต่อวัน ปริมาณการกลั่นที่ลดลง
เป็นผลมาจากการซ่อมบำรุงตามแผนงาน สำหรับหอกลั่นบรรยากาศ และ หน่วย Hydrofiner ที่ต่อเชื่อมกับหอ
กลั่นบรรยากาศช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม นอกจากนี้ยังมีผลมาจากการอ่อนตัวของค่าการกลั่น
อุตสาหกรรมอีกด้วย
ปริมาณการผลิตพาราไซลีนในไตรมาส 1 ปี 2553 อยู่ที่ 80,000 ตัน ซึ่งอยู่ในระดับการผลิตที่
ใกล้เคียงกับในไตรมาส 1 ปี 2552 ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีการซ่อมบำรุงโรงกลั่น จึงทำให้ไม่คุ้มค่าในการจะ
เพิ่มการผลิตพาราไซลีนในช่วงนี้
ค่าการกลั่นโดยรวมของไตรมาส 1 ปี 2553 อยู่ที่ 2.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับ 8.48 ดอลลาร์
ต่อบาร์เรลในไตรมาส 1 ปี 2552 ค่าการกลั่นที่ลดลงเป็นผลมาจากการค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมที่ลดลง
ประกอบกับการไม่มีผลกำไรจากสต๊อกน้ำมันอย่างมากเหมือนกับในไตรมาส 1 ปี 2552
3
4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 1 ปี 2553 และไตรมาส 1 ปี 2552
(หน่วย: ล้านบาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 + / (-)
ปี 2553 ปี 2552
รายได้จากการขาย 43,501 33,484 10,017
ต้นทุนขาย (42,060) (29,715) (12,345)
กำไรขั้นต้น 1,441 3,769 (2,328)
ค่าใช้จ่ายในการขาย (1,064) (988) (76)
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (90) (95) 5
กำไรจากการขาย 287 2,686 (2,399)
บันทึก:
- การกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน 138 2,899 (2,761)
- ปิโตรเคมี 149 (213) 362
รายได้อื่น 12 12 -
กำไรจากการดำเนินงาน 299 2,698 (2,399)
ส่วนแบ่งกำไร 81 66 15
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ 380 2,764 (2,384)
ต้นทุนทางการเงิน-สุทธิ (75) (203) 128
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 305 2,561 (2,256)
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (56) (735) 679
กำไร/(ขาดทุน)สุทธิ 249 1,826 (1,577)
ในไตรมาส 1 ปี 2553 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและมีต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2552
เนื่องมาจากระดับราคาน้ำมันดิบและราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น หักกับการที่บริษัทฯ มียอดปริมาณขาย
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ลดลง บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจำนวน 1,441 ล้านบาท ลดลง 2,328 ล้านบาทจาก
ไตรมาส 1 ปี 2552 สะท้อนให้เห็นถึงค่าการกลั่นและปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นที่ลดลง
ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารสำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีจำนวน 1,154 ล้านบาท สูงขึ้น
เล็กน้อยจากไตรมาส 1 ปี 2552
บริษัทฯ มีกำไรจากการขายสำหรับไตรมาส 1 ปี 2553 ลดลง 2,399 ล้านบาท เป็นผลจากกำไรจาก
การขายของส่วนธุรกิจการกลั่นและการจัดจำหน่ายน้ำมันลดลง 2,761 ล้านบาท และจากกำไรจากการขาย
ของส่วนธุรกิจปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้น 362 ล้านบาท ส่วนธุรกิจปิโตรเคมีมีกำไรจากการขายที่สูงขึ้นเนื่องจากการ
ปรับตัวสูงขึ้นของกำไรขั้นต้นของพาราไซลีน และผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ
ต้นทุนทางการเงินสุทธิลดลง 128 ล้านบาท หรือคิดเป็น 63% จากไตรมาส 1 ปี 2552 เป็นผลมา
จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
บริษัทฯ มีอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริง 18.5% ในไตรมาส 1 ปี 2553 เนื่องมาจากส่วนแบ่งกำไรใน
บริษัทร่วม
ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ทำให้บริษัทฯ มียอดกำไรสุทธิ 249 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2553 เทียบ
กับยอดกำไรสุทธิ 1,826 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2552
4
5. งบดุล
(หน่วย: ล้านบาท ยกเว้นหน่วยร้อยละ)
ณ 31 มี.ค. ณ 31 ธ.ค.
53 52 + / (-) + / (-) %
สินทรัพย์
-สินทรัพย์หมุนเวียน 23,609 26,372 (2,763) (10%)
-สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 35,912 35,643 269 1%
รวมสินทรัพย์ 59,521 62,015 (2,494) (4%)
หนี้สิน
-หนี้สินหมุนเวียน 28,712 31,516 (2,804) (9%)
-หนี้สินไม่หมุนเวียน 6,464 6,424 40 1%
รวมหนี้สิน 35,176 37,940 (2,764) (7%)
ส่วนของผู้ถือหุ้น
-ทุนที่ออกและชำระแล้ว 17,075 17,075 - -
-ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,032 4,032 - -
-กำไรสะสม 3,031 2,782 249 9%
-ส่วนเกินจากการตีมูลค่า
ยุติธรรม 200 179 21 12%
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - -
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 24,345 24,075 270 1%
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 59,521 62,015 (2,494) (4%)
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 บริษัทฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียนลดลง 2,763 ล้านบาทจากยอด ณ สิ้นปี
2552 โดยหลักเนื่องมาจากบริษัทฯ มีสินค้าคงเหลือและยอดเงินสดที่ลดลง ยอดสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้น
269 ล้านบาท เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่เป็นการลงทุนเบื้องต้นสำหรับ
โครงการยูโร 4 (Euro 4)
บริษัทฯ มีหนี้สินหมุนเวียนลดลง 2,804 ล้านบาท จากการลดลงของยอดเงินกู้ยืมระยะสั้นจำนวน
3,739 ล้านบาท ส่วนยอดหนี้สินไม่หมุนเวียนไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ทั้งนี้ในยอดหนี้สินรวม บริษัทฯ มี
เงินกู้ทั้งสิ้นจำนวน 24,419 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมตั๋วแลกเงิน) จำนวน 18,624 ล้านบาท
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันจำนวน 295 ล้านบาท และเงินกู้ยืมระยะยาวจำนวน 5,500 ล้านบาท
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 270 ล้านบาท เป็นผลมาจากยอดกำไรสุทธิ ไตรมาส 1 จำนวน 249
ล้านบาท และส่วนเกินจากการตีมูลค่ายุติธรรมที่เพิ่มขึ้น 21 ล้านบาท
5
6. อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราส่วนกำไร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 1
ปี 2553 ปี 2552
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) 3.3% 11.3%
อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) 0.6% 5.5%
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เท่า) 9.2 15.5
อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ 31 มี.ค. 53 ณ 31 ธ.ค. 52
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 0.8 0.8
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.2 0.2
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.0 1.2
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.2 0.2
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.0 1.1
ที่มาในการคำนวณ
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย
อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย
อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น
+ ลูกหนี้การค้า) / หนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม = หนี้เงินกู้ระยะสั้น + หนี้เงินกู้ระยะยาว
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย - เงินสดและรายการ
เทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น
ชื่อ: โรเบิร์ต ไมเคิล คูเปอร์
ตำแหน่ง: กรรมการผู้จัดการ
วันที่: 13 พฤษภาคม 2553
6