คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงินไตรมาส 2 ปี 2553

11 August 2010
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับไตรมาสสอง ปี 2553 และระยะเวลา 6 เดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2553 1. ข้อมูลทางการเงินและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 งวด 6เดือน งวด 6เดือน ปี 2553 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2552 ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น(พันบาร์เรลต่อวัน) 125.8 143.0 120.9 140.6 ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 74 117 154 199 อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) 32.4 34.8 32.7 35.0 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 1.8 11.9 2.0 10.2 รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 45,877 42,305 89,378 75,790 กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) 690 6,263 2,131 10,032 กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม ราคาและค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) (39) 5,557 740 8,733 กำไรสุทธิ (ล้านบาท) (303) 3,558 (54) 5,384 (1) กำไรต่อหุ้น (บาท) (0.09) 1.03 (0.02) 1.56 (1) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน 3,461 ล้านหุ้น 1 2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สรุปราคาเฉลี่ยอ้างอิงของ Platts ที่สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 งวด 6เดือน งวด 6เดือน ปี 2553 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2553 ปี 2552 หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ดูไบ 78.1 59.1 75.8 77.0 51.7 ทาปิส 81.2 61.7 79.5 80.4 55.1 น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 87.5 68.7 88.5 88.0 61.8 น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด 89.9 66.5 85.2 87.5 61.0 น้ำมันดีเซล (0.5% กำมะถัน) 89.5 66.2 84.8 87.1 59.7 น้ำมันเตา (180 cs) 71.4 53.3 72.8 72.1 46.1 LPG 61.9 36.2 64.4 63.1 37.8 พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) 1,007 957 1,055 1,031 842 เบนซิน (ออกเทน 95) - (ดอลลาร์ต่อตัน) (1) 744 584 752 748 525 ที่มา: ค่าเฉลี่ยอ้างอิงของ Platts ที่สิงคโปร์และ PCI (1) แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยในไตรมาส 2 ปี 2553 ปรับตัวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยจากราคาใน ไตรมาส 1 หากเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยในไตรมาสเดียวกันปีที่แล้วที่สูงขึ้นประมาณ 32% ในไตรมาส 2 ราคาน้ำมันดิบโดยรวมปรับตัวขึ้นลงระหว่าง 68-89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยมีราคาเฉลี่ย ในไตรมาส 2 สำหรับน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 78.1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหรือสูงขึ้นประมาณ 3% เมื่อเปรียบเทียบ กับราคาเฉลี่ยในไตรมาส 1 และสำหรับน้ำมันดิบทาปิสเฉลี่ยอยู่ที่ 81.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหรือ สูงขึ้นประมาณ 2% ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยนั้นสูงขึ้น แต่ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลับเคลื่อนไหวไม่ไปใน ทิศทางเดียวกัน ราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันเตาปรับลดลง 1-2% ในขณะที่น้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยาน นั้นปรับสูงขึ้น 5% จึงส่งผลให้ค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้ลดลง ส่วนราคาน้ำมันปิโตรเลียม เหลว (LPG) ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล โดยราคาหน้าโรงกลั่นในไตรมาส 2 เฉลี่ยอยู่ที่ 10.8 บาทต่อกิโลกรัม (334 ดอลลาร์ต่อตัน หรือ 29 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล) ราคาพาราไซลีน Asian contract price (ACP) ในไตรมาส 2 ปี 2553 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,007 ดอลลาร์ต่อตัน ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2553 2 3. การผลิตและค่าการกลั่น ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 +/(-) งวด 6เดือน งวด 6เดือน +/(-) ปี 2553 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2552 กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 - 177.0 177.0 - ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 125.8 143.0 -17.2 120.9 140.6 -19.7 ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 74 117 -43 154 199 -45 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 1.8 11.9 -10.1 2.0 10.2 -8.2 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น(%) (1) -น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา(%) 34.3% 34.9% -0.6% 33.5% 34.4% -0.9% -น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก(%)51.1% 50.5% +0.6% 51.4% 50.4% +1.0% -น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก(%) 14.6% 14.6% - 15.1% 15.2% -0.1% (1) ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์ เนื่องจากค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้ลดลง ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นใน ไตรมาส 2 ปี 2553 จึงต่ำกว่าไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ 17,200 บาร์เรลต่อวัน อีกทั้งส่วนต่างราคา พาราไซลีนนั้นปรับตัวลดลงทำให้ไม่คุ้มค่าในการคงระดับการผลิตพาราไซลีนในช่วงไตรมาส 2 ปี 2553 ให้เท่ากับปีที่แล้ว ดังนั้นปริมาณการผลิตพาราไซลีนในไตรมาสนี้จึงลดลงเป็น 74,000 ตัน ค่าการกลั่นในไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ 1.8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับค่าการกลั่น ที่ 11.9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 2 ปี 2552 การปรับตัวลดลงนั้นสาเหตุหลักมาจากผลกำไร จากสต็อกน้ำมันในไตรมาส 2 ปีที่แล้ว ในขณะที่มีผลขาดทุนจากสต็อกน้ำมันในไตรมาส 2 ปี 2553 ประกอบกับการที่ค่าการกลั่นในไตรมาสนี้ลดลง สัดส่วนของน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้จากโรงกลั่น ในไตรมาส 2 ปี 2553 และ ปี 2552 เฉลี่ยคงอยู่ในระดับเดียวกัน 3 4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 2 ปี 2553 และ ปี 2552 (หน่วย: ล้านบาท) ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 +/(-) งวด 6เดือน งวด 6เดือน +/(-) ปี 2553 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2552 รายได้จากการขาย 45,877 42,305 3,572 89,378 75,790 13,588 ต้นทุนขาย (45,187) (36,042) (9,145) (87,247) (65,758) (21,489) กำไรขั้นต้น 690 6,263 (5,573) 2,131 10,032 (7,901) ค่าใช้จ่ายในการขาย (1,117) (1,093) (24) (2,181) (2,081) (100) ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (118) (112) (6) (208) (207) (1) กำไร/(ขาดทุน)จากการขาย (545) 5,058 (5,603) (258) 7,744 (8,002) บันทึก: - การกลั่นน้ำมันและจัด จำหน่ายน้ำมัน (294) 4,580 (4,874) (156) 7,479 (7,635) - ปิโตรเคมี (251) 478 (729) (102) 265 (367) รายได้อื่น 19 22 (3) 31 34 (3) กำไร/(ขาดทุน)จากการ ดำเนินงาน (526) 5,080 (5,606) (227) 7,778 (8,005) ส่วนแบ่งกำไร 64 70 (6) 145 135 10 รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการ ดำเนินงาน 69 - 69 69 - 69 กำไร/(ขาดทุน)ก่อน ดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ (393) 5,150 (5,543) (13) 7,913 (7,926) ต้นทุนทางการเงิน-สุทธิ (87) (119) 32 (162) (321) 159 กำไร/(ขาดทุน)ก่อนภาษี เงินได้ (480) 5,031 (5,511) (175) 7,592 (7,767) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 177 (1,473) 1,650 121 (2,208) 2,329 กำไร/(ขาดทุน)สุทธิ (303) 3,558 (3,861) (54) 5,384 (5,438) รายได้จากการขายและต้นทุนขายในไตรมาส 2 ปี 2553 นั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552ซึ่งสะท้อนถึงราคาเฉลี่ยสำหรับน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่ปรับตัวสูงขึ้นแม้ว่าบริษัทฯมี ปริมาณขายที่ลดลงกำไรขั้นต้นในไตรมาส 2 ปีนี้จึงต่ำกว่ากำไรขั้นต้นในไตรมาส 2 ปี 2552 เป็นจำนวน 5,573 ล้านบาทซึ่งสอดคล้องกับการที่ค่าการกลั่นและส่วนต่างราคาพาราไซลีนปรับตัวลดลง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสำหรับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ 1,235 ล้านบาทอยู่ในระดับ ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า กำไรจากการขายสำหรับไตรมาส 2 ปี 2553 ลดลง 5,603 ล้านบาทเป็นผลมาจากส่วนธุรกิจ การกลั่นและการจัดจำหน่ายน้ำมันเป็นจำนวน 4,874 ล้านบาทและส่วนธุรกิจปิโตรเคมีเป็นจำนวน 729 ล้านบาท รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการดำเนินงาน 69 ล้านบาทในไตรมาสนี้เป็นผลจากดอกเบี้ยรับจาก ภาษีมูลค่าเพิ่มขอคืนจากกรมสรรพากร ต้นทุนทางการเงินสุทธิสำหรับไตรมาส 2 ปี 2553 ลดลง 27% หรือคิดเป็นจำนวน 32 ล้านบาทจากไตรมาส 2 ปี 2552 อันเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง 4 สำหรับไตรมาส 2 ปี 2553 ผลขาดทุนก่อนภาษีเงินได้จำนวน 480 ล้านบาทได้รวม ส่วนแบ่งกำไรในบริษัทร่วมเป็นจำนวน 64 ล้านบาทไว้แล้วอัตราภาษีเงินได้จึงคำนวณได้เท่ากับร้อยละ37 แต่ทั้งนี้หากไม่รวมส่วนแบ่งกำไรในบริษัทร่วมเข้ามาคิด อัตราภาษีเงินได้จะคำนวณได้อยู่ที่ร้อยละ33 อย่างที่ควรจะเป็นจากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายเพื่อการลงทุนที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไข จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้บริษัทฯขาดทุนสุทธิ 303 ล้านบาทในไตรมาส 2 ปี 2553 เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ 3,558 ล้านบาทในไตรมาส 2 ปี 2552 5 5. งบดุล (หน่วย: ล้านบาท ยกเว้นหน่วยร้อยละ) ณ 30 มิ.ย.53 ณ 31 มี.ค.53 +/(-) +/(-)% สินทรัพย์ - สินทรัพย์หมุนเวียน 25,528 23,609 1,919 8% - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 36,548 35,912 636 2% รวมสินทรัพย์ 62,076 59,521 2,555 4% หนี้สิน - หนี้สินหมุนเวียน 33,793 28,712 5,081 18% - หนี้สินไม่หมุนเวียน 5,127 6,464 (1,337) (21%) รวมหนี้สิน 38,920 35,176 3,744 11% ส่วนของผู้ถือหุ้น - ทุนที่ออกและชำระแล้ว 17,075 17,075 - - - ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,032 4,032 - - - กำไรสะสม 1,862 3,031 (1,169) (39%) - ส่วนเกินจากการตีมูลค่า ยุติธรรม 180 200 (20) (10%) ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 23,156 24,345 (1,189) (5%) รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 62,076 59,521 2,555 4% ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553 สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 1,919 ล้านบาทจากไตรมาสที่แล้ว สาเหตุหลักเกิดจากยอดสินค้าคงเหลือที่เพิ่มกลับสู่ระดับปกติหลังจากเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุงโรงกลั่น ในไตรมาส 1 ปี2553 และยอดสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 636 ล้านบาท เป็นผลมาจากการลงทุน ในโครงการยูโร 4 (Euro 4) ส่วนของหนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 5,081 ล้านบาทสืบเนื่องจากยอดเงินกู้ยืมระยะสั้น ที่สูงขึ้นจำนวน 4,722 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และเพื่อจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว แก่สถาบันการเงิน ทั้งนี้บริษัทฯได้มีการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระเป็นจำนวนเงิน 1,375 ล้านบาท เป็นสาเหตุหลักให้หนี้สินไม่หมุนเวียนลดลงเหลือเป็นจำนวน 5,127 ล้านบาท ทั้งนี้ในยอดหนี้สินรวม บริษัทฯ มีเงินกู้ทั้งสิ้นจำนวน 27,677 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมตั๋วแลกเงิน)จำนวน 23,552 ล้านบาทและเงินกู้ยืมระยะยาวจำนวน 4,125 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นซึ่งลดลง 1,189 ล้านบาทนั้นโดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการจ่ายเงินปันผล เพิ่มเติมสำหรับปี 2552 จำนวน 865 ล้านบาท 6 6. อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนกำไร ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 งวด 6เดือน งวด 6เดือน ปี ปี 2553 ปี 2552 2553 ปี 2553 ปี 2552 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น(%) 1.5% 14.8% 3.3% 2.4% 13.2% อัตราส่วนกำไรสุทธิ(%) (0.7%) 8.4% 0.6% (0.1%) 7.1% อัตราส่วนความสามารถในการ ชำระดอกเบี้ย(เท่า) (0.4) 46.3 9.2 4.3 26.9 อัตราส่วนสภาพคล่องและ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 30 มิ.ย. 53 ณ 31 มี.ค. 53 ณ 31 ธ.ค. 52 อัตราส่วนสภาพคล่อง(เท่า) 0.8 0.8 0.8 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว(เท่า) 0.2 0.2 0.2 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(เท่า) 1.2 1.0 1.2 อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วน ของผู้ถือหุ้น(เท่า) 0.2 0.2 0.2 อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(เท่า) 1.2 1.0 1.1 ที่มาในการคำนวณ อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น + ลูกหนี้การค้า) / หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม = หนี้เงินกู้ระยะสั้น + หนี้เงินกู้ระยะยาว อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย - เงินสดและรายการ เทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น ชื่อ:โรเบิร์ต ไมเคิล คูเปอร์ ตำแหน่ง: กรรมการผู้จัดการ วันที่: 11 สิงหาคม 2553 7