ปี 2566 เป็นปีที่มีพัฒนาการสำคัญทั้งในด้านธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) (ชื่อเดิม บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) "บริษัทฯ" ซึ่งนับเป็นบริบทสำคัญของการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เมื่อเอ็กชอนโมบิล เอเชีย โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นที่เอ็กชอนโมบิลถืออยู่ทั้งหมดในบริษัทฯ แก่บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) "บางจากฯ" เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 ธุรกรรมซื้อขายหุ้นได้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 และบางจากฯ ได้ทำคำเสนอชื้อหลักทรัพย์บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จากผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ที่เหลือ โดยได้ชำระค่าหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เสร็จสิ้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566 และบางจากฯ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของบริษัทฯ ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นที่ร้อยละ 76.3 และทำให้บริษัทฯ มีสถานะเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทบางจาก
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เริ่มต้นใช้ชื่อ บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) และชื่อย่อหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ที่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัท เอสโช (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 14 พฤศติกายน 2566 นับเป็นการเริ่มต้นเดินทางในบทใหม่ซึ่งจะเดินหน้าปฏิบัติภารกิจตามแผนพัฒนาธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับทิศทางของกลุ่มบริษัทบางจาก เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายในการรักษาสมดุลด้านพลังงาน ตลอดจนยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืงยืนและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ความสำเร็จของบริษัทฯ ในปี 2566
ในปี 2566 เป็นอีกปีหนึ่งที่บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งแม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพียงร้อยละ 1.9 และมีความท้าทายของสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจ บริษัทมีกำไรอยู่ที่ 2,142 ล้านบาท
ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน สามารถรักษาผลงานด้านความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา ปฏิบัติงานโดยไม่มีการรั่วไหลของน้ำมันในเกณฑ์ที่ต้องรายงานเป็นเวลาต่อเนื่องถึง 16 ปี มีการดำเนินการติดตั้งและเชื่อมต่ออุปกรณ์ไหม่ในการปรับปรุงน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 5 และปรับปรุงหน่วยการผลิต ซึ่งภายหลังการปิดซ่อมบำรุงแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม โรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา ได้เริ่มผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงกำมะถันต่ำตามมาตรฐานยูโร 5 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566
นอกจากนี้ในปี 2566 โรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา ได้รับเรือบรรทุกน้ำมันดิบ "Nordic Pollux" ซึ่งเป็นเรือประเกท Suezmax ขนาด 180,000 ตัน เป็นครั้งแรก นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้รองรับการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา ที่สะท้อนประสิทธิภาพและการผนึกกำลังทางธุรกิจกับกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมันของบางจากฯ ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งน้ำมันดิบจากการประหยัดต่อขนาดด้วย นอกจากนี้ บริษัทฯ และบางจากฯ ยังได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทใหม่ ชื่อ บริษัท รีไฟเนอรี่ ออฟติไมซ์เซชั่น แอนด์ ซินเนอร์ยี่ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (ROSE) เพื่อจัดทำแผนการบริการงานธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจโรงกลั่นของทั้งสองบริษัทในระยะต่อไป อีกทั้งยังประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพื้นที่การขนส่งน้ำมัน (Rezoning) ทั้งทางท่อ รถ เรือ ตามภูมิภาคต่างๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อันเป็นผลมาจากการประสานประโยชน์เชิงกลยุทธ์เพื่อลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการคลังและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งร่วมกันอย่างยั่งยืน ขณะนี้กิจกรรมการปรับปรุงในส่วนต่างๆ ก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งรวมถึงการโอนผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบระหว่างโรงกลั่นน้ำมันสองแห่ง เช่น ส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานและน้ำมันเตา
นอกเหนือไปจากการยกระดับศักยภาพการดำเนินงานด้านธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ในส่วนของธุรกิจการตลาด บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญในการส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพควบคู่กับการส่งมอบบริการที่ดีที่ดีที่สุดต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นปี 2566 บริษัทฯ มีเครือช่ายสถานีบริการน้ำมันกายได้การดำเนินงานจำนวนทั้งสิ้งสิ้น 830 แห่ง ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ได้เริ่มปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ของสถานีบริการของบริษัทฯ เป็น "บางจาก" จำนวน 268 แห่ง แล้วเสร็จ ณ สิ้นปี 2566 และส่วนที่เหลือซึ่งเป็นสถานีบริการน้ำมันของผู้ประกอบการ จะทยอยเปลี่ยปลี่ยนให้แล้วเสร็จภายในปี 2567 ขณะเดียวกัน ได้ร่วมมือกับพันธมิตรรายเดิมและรายใหม่ เพื่อเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของร้านค้าและบริการสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการที่สถานีบริการของบริษัทฯ
ขณะเดียวกัน ในธุรกิจพาณิชยกรรม ในปี 2566 บริษัทฯ สามารถเพิ่มยอดชายสำหรับผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมและช่องทางการขายที่มีกำไรสูง อาทิ ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมันเตาสำหรับอุตสาทกรรมการเดินเรือ น้ำมันเบนซินสำหรับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังได้ขยายธุรกิจไปยังลูกค้ากลุ่มธุรกิจการบินไปยังสายการบินภายในประเทศ และเครื่องบินเจ็ตส่วนบุคคล ซึ่งได้ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและสร้างความสามารถในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในภาคธุรกิจการบินในอนาคต
ความสำเร็จด้านผลการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ ล้วนเกิดจากพลังแห่งความร่วมมือและความไว้วางใจจากทุกภาคส่วน ในนามของบริษัทฯ ผมขอขอบคุณท่านผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่สนับสนุนการดำเนินงานด้วยดีตลอดมา รวมถึงผู้บริหารและพนักงานที่ทุ่มเทอย่างเต็มที่ จนทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการในช่วงของการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างผู้ถือหุ้นรวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างราบรื่นและสำเร็จลุล่วงด้วยดีในปี 2566
สำหรับปี 2567 บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบ สนับสนุนสังคม พัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ ในการมุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำด้วยนวัตกรรมและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจและด้วยการผนึกกำลังทางธุรกิจผ่านการ Synergy ภายในกลุ่มบริษัทบางจาก จะช่วยทำให้บริษัทมีขีดความสามารถสูงขึ้น เป็นพลังที่จะทำให้สามารถคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และพร้อมในการเริ่มศักราชใหม่สู่ความสำเร็จที่มากขึ้นต่อไปในอนาคตด้วยความยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ "สรรค์สร้างอนาคตที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมเพื่อพลังงานที่เหนือกว่า"