สรุปข้อสนเทศ : ESSO

30 เมษายน 2551
ชนะในการยื่นอุทธรณ์ ทั้งนี้ คดีความสำคัญใหม่ ๆ ที่มีผลออกมาในทางที่ไม่เป็นคุณกับบริษัทฯ อาจส่งผลกระทบ ในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ กระแสเงินสด ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานและโอกาสทางธุรกิจต่อบริษัทฯ 1.19 บริษัทฯ มีความเสี่ยงต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯ มีเงินกู้ยืมทั้งสิ้นประมาณ 34,710 ล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ ได้มี การปรับโครงสร้างให้เป็นเงินกู้ยืมใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว บริษัทฯ ไม่สามารถรับรองได้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่ ปรับขึ้นในอนาคต การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญจะเป็นการเพิ่มต้นทุนอย่างมี นัยสำคัญต่อการกู้ยืมของบริษัทฯ ที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งอิงกับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว หรือเงินกู้ยืมใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ย ลอยตัว หรือเงินกู้ยืมอื่น ๆ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ที่สูงขึ้น อันอาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ กระแสเงินสด ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ 1.20 บริษัทฯ พึ่งพาผู้จัดหาเพียงรายเดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสำคัญต่อการผลิตไฟฟ้าที่บริษัทฯ จำเป็นต้องใช้เพื่อดำเนินงานหน่วยผลิตของบริษัทฯ บริษัทฯ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งเชื้อเพลิงในเครื่องจักรผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ บมจ. ปตท. เป็นผู้จัดหาและ ผู้จัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติเพียงรายเดียวในประเทศไทย และเป็นผู้จัดส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่บริษัทฯ โดยผ่านทาง ระบบท่อส่งก๊าซภายใต้สัญญาที่ทำกับบริษัทฯ โดยที่เครื่องจักรผลิตไฟฟ้าและไอน้ำของบริษัทฯ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิงหลัก แม้หากบริษัทฯ ประสบปัญหาการจัดหาก๊าซธรรมชาติ บริษัทฯ ยังสามารถใช้ก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตขึ้น ภายในบริษัทฯ หรือบริษัทฯ อาจซื้อไฟฟ้าจากบุคคลภายนอก เช่น จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นแหล่ง เชื้อเพลิงสำรองได้ แต่อย่างไรก็ดี การใช้ก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตขึ้นภายในบริษัทฯ จะลดรายได้ของบริษัทฯ เนื่องจาก ก๊าซเชื้อเพลิงนี้สามารถขายให้แก่บุคคลภายนอกได้ ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าที่ซื้อจากบุคคลภายนอกเป็นการเพิ่มต้นทุนการ ขายของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ อาจไม่สามารถเดินเครื่องหน่วยผลิตที่ระดับปัจจุบันได้โดยอาศัยแหล่งเชื้อเพลิง เพียงแหล่งเดียวจากก๊าซเชื้อเพลิงที่บริษัทฯ ผลิตขึ้นเอง หรือจากไฟฟ้าที่ซื้อจากบุคคลภายนอก ดังนั้น หากเกิด ปัญหาในการจัดหาก๊าซธรรมชาติโดย บมจ. ปตท.ให้แก่บริษัทฯ ก็อาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อ ธุรกิจ กระแสเงินสด ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ 1.21 บริษัทฯ พึ่งพาระบบท่อส่งที่เป็นเจ้าของและดำเนินการโดยบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด และ พึ่งพาบุคคลภายนอก เพื่อการจัดส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของบริษัทฯ จำนวนกว่าร้อยละ 50 จะถูกจัดส่งไปทั่วประเทศไทย โดยเป็นการจัดส่ง จากโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ผ่านทางระบบท่อส่งผลิตภัณฑ์รวมซึ่งบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด เป็นเจ้าของ และผู้ดำเนินการ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมส่วนที่เหลือจะถูกจัดส่งโดยทางเรือชายฝั่งหรือรถบรรทุก บริษัทฯ ส่งออก น้ำมันเตาที่จะส่งออกโดยทางท่าขนถ่ายน้ำมันซึ่งเป็นของบุคคลภายนอกคือ บมจ. ปตท. การหยุดชะงักของการ ทำงานของท่อส่ง หรือระบบการจัดส่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ กระแสเงินสด ผลการ ดำเนินงานและโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ 1.22 บริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมผ่านตัวแทนจำหน่ายอิสระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯ มีตัวแทนจำหน่ายจำนวน 374 ราย ซึ่งให้บริการผ่านทางสถานีบริการ 423 สถานี ที่ผ่านมาบริษัทฯ เคยมีข้อขัดแย้งกับตัวแทนจำหน่ายของบริษัทฯ ในประเด็นต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ข้อกำหนด เกี่ยวกับการให้ส่วนลด และการขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของเอสโซ่ ภายใต้ชื่อทางการค้าของบริษัทฯ ถึงแม้ว่า ข้อขัดแย้งในอดีตเหล่านี้ไม่ได้มีผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจของบริษัทฯ แต่บริษัทฯ ก็ไม่อาจรับรองได้ว่า ข้อขัดแย้งที่ อาจมีในอนาคตกับตัวแทนจำหน่ายรายใดรายหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งรายจะไม่มีผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อ การดำเนินงานค้าปลีกน้ำมันของบริษัทฯ 2.ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของหุ้นของบริษัทฯ 2.1 การขายหุ้นของบริษัทฯ ในอนาคต และการมีหุ้นของบริษัทฯ จำนวนมากเพื่อขาย อาจทำให้ราคาหุ้น ของบริษัทฯ ลดลง เมื่อการเสนอขายหุ้นและการจดทะเบียนหุ้นของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ("ตลาดหลักทรัพย์ฯ") แล้วเสร็จ บริษัทฯ จะมีหุ้นของบริษัทฯ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 845,833,300 หุ้น โดยนับเป็นร้อยละ 25.0 ของหุ้นที่ออกและ จำหน่ายแล้ว ซึ่งสามารถซื้อขายได้อย่างเสรีในตลาดหลักทรัพย์ฯ (บนสมมุติฐานว่า จะไม่มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นส่วนเกิน) หรือจะมีหุ้นของบริษัทฯ จำนวน 930,416,600 หุ้น โดยนับเป็นร้อยละ 26.8 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้ว ซึ่งสามารถ ซื้อขายได้อย่างเสรีในตลาดหลักทรัพย์ฯ (บนสมมุติฐานว่า จะมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายหลังจากวันที่ทำการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในประเทศไทยแล้ว เสร็จ บริษัทฯ จะต้องห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นรวมกันอย่างน้อย ร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้น ครั้งนี้ทำการขายหุ้นของตน เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ หลังจากครบกำหนดระยะเวลาหกเดือนภายหลังการเริ่มซื้อขาย หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ถือหุ้นที่ถูกห้ามขายเหล่านี้จะสามารถขายหุ้นของตนได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของหุ้นที่ถูก ห้ามขาย และจะสามารถขายหุ้นที่ถูกห้ามขายส่วนที่เหลือ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่เริ่มซื้อขายหุ้นของ บริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น เมื่อระยะเวลาห้ามขายหุ้นนี้สิ้นสุดลง ผู้ลงทุนอาจได้รับผลกระทบในทางลบจาก การลดลงของราคาหุ้นของบริษัทฯ ในตลาดอันเนื่องมาจากการขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ทั้งนี้ บริษัทฯและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งได้แก่บริษัท เอ็กซอนโมบิลอินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง อิงค์ และ กระทรวงการคลัง ได้ตกลงกับผู้ซื้อรายแรก (Initial Purchaser) และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย หุ้นในประเทศไทย (Thai Lead Underwriter) ว่า จนกว่าจะครบกำหนด 360 วัน นับจากวันที่มีการส่งมอบเงินค่าขาย หุ้นในครั้งนี้แก่บริษัทฯ และกระทรวงการคลัง (Closing Date) ของการเสนอขายในครั้งนี้ บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดังกล่าวจะไม่เสนอขาย ขายหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยประการอื่นซึ่งหลักทรัพย์ใด ๆ ในประเภทเดียวกับหุ้นสามัญที่ เสนอขายในการเสนอขายครั้งนี้ หรือหลักทรัพย์ใด ๆ ที่สามารถแปลงสภาพหรือแลกเปลี่ยนเป็นหลักทรัพย์ประเภท เดียวกับหุ้นสามัญที่เสนอขายในการเสนอขายครั้งนี้ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ซื้อรายแรก และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นในประเทศไทย ยกเว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน บริษัทฯ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าการซื้อขายในอนาคตหรือความพร้อมของหุ้นที่จะซื้อขายในอนาคตจะมี ผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้นของบริษัทฯ ที่ซื้อขายอยู่เป็นครั้งคราวอย่างไร การซื้อขายหุ้นเป็นจำนวนมากในตลาด หลักทรัพย์ฯ ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ หรือการเล็งเห็นว่าอาจมีการซื้อขายดังกล่าวเกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบ ในทางลบต่อราคาตลาดของหุ้นของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ 2.2 ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินอาจไม่สามารถทำการรักษาระดับราคา (Stabilization) และอาจต้องยุติการทำ การรักษาระดับราคา ในการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินในฐานะผู้กระทำการแทนผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศและ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย อาจทำการรักษาระดับราคา (Stabilization) ของหุ้นของบริษัทฯ ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ และผู้จัดจำหน่ายหุ้นไม่ สามารถให้คำรับรองหรือคาดการณ์ถึงทิศทางหรือผลที่จะเกิดขึ้นจากการทำการรักษาระดับราคาที่จะมีต่อราคาหุ้นของ บริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ และผู้จัดจำหน่ายหุ้นไม่สามารถให้คำรับรอง ได้ว่า ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินจะมีการเข้าทำการรักษาระดับราคา หรือหากเมื่อมีการเริ่มทำการรักษาระดับราคาแล้ว การ รักษาระดับราคาดังกล่าวจะไม่ยุติลง โดยไม่มีการแจ้ง 2.3 บริษัทฯ อาจจะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ ความสามารถของบริษัทฯ ที่จะประกาศจ่ายเงินปันผล ขึ้นอยู่กับผลประกอบการทางการเงินในอนาคตของ บริษัทฯ โดยผลประกอบการทางการเงินดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนการดำเนินงานของ บริษัทฯ และปัจจัยทางด้านการเงิน การแข่งขัน กฎระเบียบ วิทยาการและอื่น ๆ สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป อุปสงค์และ ราคาขายของผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ต้นทุนวัตถุดิบและปัจจัยเฉพาะอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมหรือโครงการเฉพาะของ บริษัทฯ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าคณะกรรมการบริษัทฯ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2551 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบในแผนการที่บริษัทฯ จะจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเป็นจำนวน 1 บาทต่อหุ้น บริษัทฯ ไม่สามารถรับรองได้ว่า คณะกรรมการบริษัทฯ จะมีมติยืนยันและอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าวในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นอีกครั้งในภายหลัง กรณีพิพาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯ มีข้อพิพาททางกฎหมายหลายคดีที่เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยปกติ ของบริษัทฯ ทั้งนี้ ในประเทศไทย กฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ จะมีบทกำหนดโทษทางอาญาซึ่งกรรมการและ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ อาจจะต้องร่วมรับผิดด้วย โดยนอกเหนือจากคดีข้อพิพาทที่จะได้อธิบายข้างล่างแล้ว บริษัทฯ ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องในคดีความหรือการดำเนินการทางกฎหมายอื่นใดที่บริษัทฯ เชื่อว่า จะมีผลกระทบในด้านลบ ต่อสินทรัพย์ของบริษัทฯ ที่เป็นจำนวนสูงกว่าร้อยละ 5 ของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 สำหรับคดีข้อพิพาทที่สำคัญที่บริษัทฯ ถูกฟ้องเป็นจำเลย ได้แก่ คดีข้อพิพาท กับกรมศุลกากร ซึ่งเป็นคดีที่ สืบเนื่องจากในช่วงปี 2530 ถึงปี 2531 บริษัทฯ ได้มีการนำเข้าสารตั้งต้นผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเพื่อใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์หล่อลื่น โดยกรมศุลกากรได้ทำการประเมินอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้านี้และบริษัทฯ ได้ชำระอากรดังกล่าว ไปแล้ว หลังจากนั้นอีกหลายปี กรมศุลกากรกล่าวหาว่า บริษัทฯ ควรจะสำแดงสารตั้งต้นที่มีชื่อทางการค้าโดยพื้นฐาน ว่าสารตั้งต้นดังกล่าวมีคุณสมบัติเดียวกันกับสารตั้งต้นที่มีชื่อทางการค้าของบริษัทฯ และกรมศุลกากรจึงได้ประเมินอากร เพิ่มเติมโดยพื้นฐานดังกล่าว ซึ่งบริษัทฯ ได้จ่ายชำระเงินจำนวน 17 ล้านบาทสำหรับคดีแพ่งในเรื่องนี้แล้ว และต่อมา ในปี 2542 บริษัทฯ ยังถูกยื่นฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาสำแดงเท็จเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าอีก โดยศาลอาญากรุงเทพ ใต้ได้พิพากษา ลงโทษปรับบริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 436,000,000 บาท อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาการ กระทำความผิดดังกล่าว และได้ยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาลอาญากรุงเทพใต้ต่อศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 โดยในขณะนี้คดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ บริษัทฯ เชื่อว่าบริษัทฯ มีข้อต่อสู้ที่ดี และ บริษัทฯ ไม่ได้ทำการสำรองเงินไว้สำหรับชำระค่าปรับตามคำพิพากษานี้แต่อย่างใด แม้ว่าบริษัทฯ จะไม่สามารถ รับประกันได้ว่าบริษัทฯ จะชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ และนับตั้งแต่เหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทฯ ได้ทำการพิจารณาทบทวน ขั้นตอนการปฏิบัติของบริษัทฯ เพื่อที่จะป้องกันการเกิดกรณีในทำนองเดียวกันอีกในภายหน้า จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯ มีพนักงาน 3,022 คน โดยพนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานในสถานีบริการน้ำมัน นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จ้างบริษัทในเครือเอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่น ดำเนินงานต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงงานทรัพยากรบุคคล การ บัญชี เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดซื้อ การขายและการบริหารจัดการบางอย่าง ประวัติความเป็นมาโดยสรุป บริษัทฯ จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในปี 2508 โดยมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย บริษัทฯ จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในปี 2508 อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ และบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องประกอบธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 100 ปี บริษัทฯ ได้จด ทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทเอกชนจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2539 ปัจจุบันบริษัทอื่น ๆ ในเครือเอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่นถือหุ้นรวมกันในบริษัทฯ เป็นจำนวนร้อยละ 87.5 ของ หุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ และกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นส่วนที่เหลือจำนวนร้อยละ 12.5 ทั้งนี้ สืบเนื่อง จากการปรับโครงสร้างกิจการ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2550 บริษัทฯ ได้รับโอนกิจการและทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัท เอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีผลในทางบัญชี เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2550 โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินงานในปี 2514 และต่อมาบริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ขยายโรงงานและ ประกอบกิจการโรงงานกลั่นน้ำมันแร่ขนาดใช้น้ำมันดิบวันละไม่เกิน 35,000 บาร์เรล ภายใต้สัญญาประกอบกิจการโรง กลั่นน้ำมันปิโตรเลียมและเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับบริษัทฯ ลงวันที่ 14 มีนาคม 2516 และในปี 2528 รัฐบาลได้อนุมัติให้บริษัทฯ เพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันดิบเป็นวันละ 63,000 บาร์เรล จากการ ปรับเพิ่มปริมาณการผลิต (debottleneck) หลังจากนั้น ในปี 2534 รัฐบาลได้อนุมัติการเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันดิบที่ได้รับ อนุญาตของโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ เป็นวันละ 185,000 บาร์เรล บริษัทฯ ได้ทยอยเพิ่มกำลังกลั่นน้ำมันดิบของโรง กลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีกำลังกลั่นน้ำมันดิบ ในปัจจุบันที่วันละ 177,000 บาร์เรล ในปี 2541 บริษัทฯ เริ่มก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ ณ พื้นที่โรงกลั่นน้ำมันศรีราชาของบริษัทฯ การก่อสร้าง โรงงานอะโรเมติกส์ของบริษัทฯ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2542 โดยมีกำลังการผลิตพาราไซลีนปีละ 350,000 ตัน นับแต่วันเริ่มดำเนินการ (start-up) การดำเนินงานของโรงงานอะโรเมติกส์ได้ถูกประสานเชื่อมโยงเข้ากับโรงกลั่นน้ำมัน แบบครบวงจร ในปี 2547 บริษัทฯ ได้เพิ่มกำลังการผลิตเป็นปีละ 500,000 ตัน โดยโครงการเพิ่มกำลังการผลิตด้วย ต้นทุนต่ำ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตวัตถุดิบพาราไซลีน (paraxylene feedstock) ของ บริษัทฯ เองด้วยการแปลงหน่วย Powerformer ที่ไม่ได้ใช้งานให้เป็นหน่วยผลิตวัตถุดิบพาราไซลีน หน่วยผลิตนี้ใช้ ปฏิกิริยาทรานส์อัลคีเลชั่น (Transalkylation) เพื่อไปทำการปรับปรุงสารอะโรเมติกส์หนัก (heavy aromatics streams) ให้เป็นวัตถุดิบไซลีน (xylene feedstocks) โดยมีกำลังการผลิตเทียบเท่าพาราไซลีน (paraxylene equivalent) ประมาณปีละ 120,000 ตัน หน่วยผลิตสารทำละลาย (solvent production unit) ของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับโอนมาจาก บริษัท เอ็ก ซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัด โดยถือว่ามีการโอนผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องในวันที่ 1 กันยายน 2550 เพื่อประโยชน์ทางบัญชี โดยหน่วยผลิตสารทำละลายนี้ได้เริ่มต้นการดำเนินงานในปี 2533 มีกำลังการผลิตปีละ 30,000 ตัน และสืบเนื่องจากการปรับปริมาณกระบวนการผลิต (debottleneck) หลายครั้ง ส่งผลให้ในปัจจุบันหน่วย ผลิตสารทำละลายนี้มีกำลังการผลิตปีละ 50,000 ตัน โดยหน่วยผลิตดังกล่าวได้ถูกประสานเชื่อมโยงเข้ากับโรงกลั่น น้ำมันของบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปรากฏดังนี้ หน่วย: ล้านบาท ชื่อบริษัท ประเภทกิจการและ ทุนชำระแล้ว ร้อยละของหุ้น มูลค่าเงินลงทุน ลักษณะธุรกิจ (ล้านบาท) ที่ถือหุ้นสามัญ (ตามราคาทุน) บริษัท โมบิล เอ็นเทอร์ไพรเซส จำหน่ายและขนส่ง 3.33 100 1 (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม บริษัท วิสาหกิจส่งเสริม ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ 3.33 100 51 อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ร่วมพัฒนาอุตสาหกิจ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ 10 100 59 จำกัด บริษัท เพซเซตเตอร์ เอ็นเตอร์ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ 10 100 3 ไพรเซส จำกัด บริษัท ไทยซี-เซ็นเตอร์ จำกัด บริการสถานีน้ำมัน 50 100 - อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือข้างต้นได้รวมถึงผลกระทบของการถือหุ้นสามัญทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ไม่รวม ผลกระทบของหุ้นบุริมสิทธิ บริษัทมิได้ถือหุ้นบุริมสิทธิที่ออกโดยบริษัทย่อยเหล่านี้ แต่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม นโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทย่อยแต่ละแห่ง สำหรับหุ้นของบริษัท วิสาหกิจส่งเสริมอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ร่วมพัฒนาอุตสาหกิจ จำกัด และ บริษัท เพซเซตเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด ประกอบด้วยหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ โดยหากรวมหุ้นบุริมสิทธิแล้ว สัดส่วน การถือหุ้นของบริษัทฯ ในบริษัทย่อยเหล่านี้จะเป็นร้อยละ 30, 49 และ 33 ตามลำดับ นอกจากนี้ บริษัทฯมีการถือหุ้นใน บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 21 (รวมหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ) การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา หน่วย: ล้านบาท วัน/เดือน/ปี ทุนที่เพิ่ม(ลด) หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน 24 กันยายน 2550 21,000,000,000 26,100,000,000 ชำระหนี้สินต่างๆ ของบริษัทฯ และหนี้สินที่ ได้รับโอนกิจการมาจากบริษัท เอ็กซอนโมบิล เคมี (ประเทศไทย) จำกัด ตามแผนการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเงินทุนของบริษัทฯ 15 พฤศจิกายน 2550 (13,222,782,000) 12,877,218,000 ลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากหุ้นละ 10 บาท เป็น 4.9338 บาท เพื่อล้างขาดทุนสะสม รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ผู้สอบบัญชี คุณประสัณห์ เชื้อพานิช บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) นโยบายการจ่ายเงินปันผล คณะกรรมการบริษัทฯ อาจพิจารณาการจ่ายเงินปันผลประจำปีของบริษัทฯ โดยจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ อาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้เป็นครั้งคราว และ รายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบตามที่กฎหมายกำหนด ถึงแม้ว่าบริษัทฯ ไม่เคยจ่ายเงินปันผลในอดีต เนื่องจากยังมี ผลขาดทุนสะสมในช่วงก่อนการปรับโครงสร้างกิจการในปี 2550 ในปัจจุบัน คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายที่จะ พิจารณาเสนอจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิภายหลังจากการจัดสรร ทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภท และขึ้นอยู่กับแผนการลงทุน ความจำเป็น กฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อพิจารณาอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม อัตราการจ่ายเงินปันผลที่แท้จริงอาจมีความแตกต่างโดยอาจสูงหรือต่ำกว่าอัตราที่กำหนดไว้ ในนโยบายดังกล่าวข้างต้น และขึ้นอยู่กับปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ สำหรับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อยจะเป็นไปตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการของบริษัทย่อยแต่ ละแห่งและได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยนั้น การจ่ายเงินปันผลจะขึ้นอยู่กับการจัดสรรทุน สำรอง แผนการลงทุน ความจำเป็น กฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง บัตรส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการประกอบกิจการการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และกิจการผลิต พาราไซลีน (Paraxxylene) ประเภทการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีจากปิโตรเลียมในประเทศไทย จากคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้วางไว้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการ ลงทุน พ.ศ. 2520 ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำหรับการลงทุนในกิจการผลิต ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 โดยให้มีกำลังการกลั่นน้ำมันดิบวันละประมาณ 82,000 บาร์เรล สำหรับกิจการผลิตพาราไซลีนในส่วนของโรงงานอะโรเมติกส์ของบริษัทฯ นั้น บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการ ลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 ให้ดำเนินการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ใน บริเวณใกล้เคียงกับโรงกลั่นน้ำมันที่ศรีราชา โดยมีกำลังการผลิตพาราไซลีนประมาณ 350,000 ตันต่อปี (เวลาทำงาน 24 ชั่วโมงต่อวัน และวันทำงาน 365 วันต่อปี) ซึ่งต่อมาบริษัทฯ ได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการขยายกำลังการผลิตเป็น 420,000 ตันต่อปี และ 540,000 ตันต่อปี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2544 และวันที่ 23 กรกฎาคม 2546 ตามลำดับ จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ. 2551 ปรากฏดังนี้ จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว 1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders 1.1 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร - - - รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่มี ความสัมพันธ์ 1.2 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับ 16.0 2,909,666,600.0 86.0 รวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย* 1.3 ผู้มีอำนาจควบคุม - - - 2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 18,178.0 473,666,700.0 14.0 3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - - รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 18,194.0 3,383,333,300.0 100.0 *รวมหุ้นสามัญที่ Morgan Stanley & Co. International PLC ในฐานะผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ (Initial Purchaser) รับซื้อจำนวน 456,749,900 หุ้น หรือประมาณร้อยละ 13.5 ของทุนชำระแล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ. 2551 . หลัง IPO ก่อน IPO . ร้อยละของทุน ร้อยละของทุน ชื่อ จำนวนหุ้น ชำระแล้ว จำนวนหุ้น ชำระแล้ว 1. กลุ่มผู้ถือหุ้นที่เป็นบริษัทย่อย 2,199,166,700 65.00 2,283,750,000 87.50 และ/หรือบริษัทในเครือของ เอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่น 2. Morgan Stanley & Co. 456,749,900 13.50 - - International PLC 3. กระทรวงการคลัง 253,750,000 7.50 326,250,000 12.50 4. อยุธยา อลิอันซ์ ซี. พี. ประกัน 15,500,000 0.46 - - ชีวิต จำกัด (มหาชน) 5. American International Assurance Company Limited - AIA D-PLUS 13,636,400 0.40 - - 6. American International Assurance Company Limited - APEX 8,181,800 0.24 - - 7. American International Assurance Company Limited - Tiger 8,181,800 0.24 - - 8. บัวหลวง หุ้นระยะยาว 3,350,000 0.10 - - 9. สุชน สิมะกุลธร 2,776,500 0.08 - - 10. ธนาคารออมสิน 2,666,100 0.08 - - . รวม 2,963,959,200 87.60 2,610,000,000 100.0 หมายเหตุ : ผู้ถือหุ้นลำดับที่ 1 ไม่นับรวมหุ้นที่ให้ยืมเพื่อการจัดสรรส่วนเกิน 84,583,300 หุ้น โดยจะได้รับคืนทั้งจำนวนภายใน 30 วัน หลังจากที่หุ้นของบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ภายหลังการได้รับหุ้นคืนผู้ถือหุ้นลำดับที่ 1 จะถือหุ้นทั้งสิ้น 2,283,750,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 67.50 หรือร้อยละ 65.85 ของทุนชำระแล้ว กรณีผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินไม่ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน หรือ ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ตามลำดับ ผู้ถือหุ้นลำดับที่ 2 (Morgan Stanley & Co. International PLC) เป็นผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ (Initial Purchaser) รับซื้อจำนวน 456,749,900 หุ้น หรือประมาณร้อยละ 13.5 ของทุนชำระแล้วผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ. 2551 (ยังมีต่อ)