คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน ไตรมาส 1/2551

15 พฤษภาคม 2551
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับ ระยะเวลา 3 เดือนสิ้นสุด 31 มีนาคม 2551 1. ข้อมูลทางการเงินและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 1Q 2008 1Q 2007 ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 141.2 148.1 ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 84.1 103.4 อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) 32.5 35.6 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 6.95 7.93 รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 53,540 45,337 กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) 3,019 4,449 กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) 2,321 3,936 กำไรสุทธิ (ล้านบาท) 1,131 2,036 (1) กำไรต่อหุ้น (บาท) 0.4 4.0 (1) จำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด ? ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 510 ล้านหุ้น ? ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 2,610 ล้านหุ้น 1 2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สรุปราคาเฉลี่ย Platts สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 1Q2008 4Q2007 1Q2007 Dubai 91.4 83.2 55.4 102.5 93.4 63.6 Tapis 105.1 95.8 68.3 น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 114.2 105.9 72.2 น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล (0.5%S) 114.4 102.6 70.1 น้ำมันเตา (180 cs) LPG 74.6 73.2 45.1 73.4 67.0 46.4 1,099 1,051 1,023 พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) (1) เบนซิน (ออกเทน 95) - (ดอลลาร์ต่อตัน) 894 814 581 ที่มา: Mean of Platts Singapore (1) แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากในไตรมาส 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับราคาในไตรมาส 4 ปี 2550 โดยราคาน้ำมันดิบ Dubai และ Tapis ได้ปรับตัวสูงขึ้น 10% ราคาน้ำมันสำเร็จรูปมีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ยกเว้นน้ำมันเตาและ LPG โดยน้ำมันเตามีราคาค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบระหว่างไตรมาส 1 ปี 2551 กับไตรมาส 4 ปี 2550 และราคา LPG ซึ่งรัฐบาลได้ ควบคุมราคาไว้ที่ 340 ดอลลาร์ต่อตัน หรือประมาณ 29.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล . 2 3. การผลิตและค่าการกลั่น 1Q 2008 1Q 2007 + / (-) กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 - ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 141.2 148.1 (6.9) อัตราการใช้กำลังการผลิต (%) 79.8% 83.7% (3.9%) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น 34.8% 34.2% 0.6% น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา (%) (1) - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก (%) - 51.2% 49.4% 1.8% น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก (%) - 14.0% 16.4% (2.4%) ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 84.1 103.4 (19.3) ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 6.95 7.93 (0.98) (1) ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์ ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นในไตรมาส 1 ปี 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ได้รับผลกระทบจากค่าการ กลั่นที่ไม่คุ้มค่าของหน่วยกลั่นน้ำมันขั้นพื้นฐาน (Hydroskimming margin) ปริมาณการผลิตพาราไซลีนในไตรมาส 1 ปี 2551 ลดลง เนื่องจากความไม่คุ้มค่าในการเพิ่มปริมาณการผลิตพาราไซลีนอันเนื่องมาจากการลดลงของกำไรขั้นต้นของพาราไซลีนอันเป็นผลมา จากการเพิ่มขึ้นของราคาของวัตถุดิบสำหรับการผลิตพาราไซลีน ค่าการกลั่นลดลง 0.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็น 6.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 1 ปี 2551 จากค่าการกลั่น 7.93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 1 ปี 2550 กำไรขั้นต้นของพาราไซลีนลดลงในไตรมาส 1 ปี 2551 เป็นผลมาจากราคาขายของพารา ไซลีนที่ปรับขึ้นน้อยกว่าราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น 3 4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 1 ปี 2551 และ ปี2550 (หน่วย: ล้านบาท) 1Q 2008 1Q 2007 Change รายได้จากการขาย 53,540 45,337 8,203 ต้นทุนขาย (50,521) (40,888) (9,633) กำไรขั้นต้น 3,019 4,449 (1,430) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (1,180) (1,007) (173) กำไรจากการขาย 1,839 3,442 (1,603) บันทึก: - การกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน 1,948 2,769 (821) - ปิโตรเคมี (109) 673 (782) รายได้อื่น 7 16 (9) กำไรจากการดำเนินงาน 1,846 3,458 (1,612) รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการดำเนินงาน - 161 (161) ส่วนแบ่งกำไร 63 51 12 กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ 1,909 3,670 (1,761) ดอกเบี้ยรับ 14 82 (68) ดอกเบี้ยจ่าย (335) (1,286) 951 กำไรก่อนภาษีเงินได้ 1,588 2,466 (878) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (457) (430) (27) กำไรสุทธิ 1,131 2,036 (905) รายได้จากการขายและต้นทุนขายของบริษัทในไตรมาส 1 ปี 2551 สูงกว่าในไตรมาส 1 ปี 2550 ตามการปรับตัวสูงขึ้นของ ราคาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถึงแม้ว่ายอดขายปรับลดลง กำไรขั้นต้นของบริษัทในไตรมาส 1 ปี 2551 ลดลง เนื่องมาจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคา น้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2551 ส่วนใหญ่เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายของกิจการขายผลิตภัณฑ์ เคมีซึ่งเดิมดำเนินการโดยบริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทฯได้รับโอนกิจการดังกล่าวมาเมื่อเดือน กันยายน 2550 และค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นในการจัดส่งผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้าพาณิชยกรรมและลูกค้าปลีก กำไรจากการขายสำหรับธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน และธุรกิจปิโตรเคมีลดลงในไตรมาส 1 ปี 2551 เมื่อ เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 เนื่องมาจากค่าการกลั่นและกำไรขั้นต้นของพาราไซลีนที่ลดลงเป็นหลัก โดยค่าการกลั่นลดลง 0.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จาก 7.93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 1 ปี 2550 เป็น 6.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 1 ปี 2551 และ กำไรขั้นต้นของพาราไซลีนที่ลดลงเนื่องจากการที่ราคาขายของพาราไซลีนที่ปรับขึ้นน้อยกว่าราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานซึ่งรายงานใน ไตรมาส 1 ปี 2550 เป็นรายได้ที่เกิดจากการรับรู้กำไรรอตัดบัญชีจาก การขายและเช่าสินทรัพย์กลับคืนที่บริษัทได้เข้าทำสัญญาในปี 2543 กับบริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัด รายได้ ดังกล่าวไม่ปรากฎในไตรมาส 1 ปี 2551 เนื่องจากสัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงอันเป็นผลมาจากการที่บริษัทรับโอนกิจการทั้งหมดของ บริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัด ในเดือนกันยายน 2550 4 ดอกเบี้ยจ่ายลดลงอย่างมาก (74%) ในไตรมาส 1 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 เป็นผลมาจากการลดลงของ ยอดหนี้สินอันเนื่องมาจากการชำระคืนหนี้สินจากเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนในเดือนกันยายน 2550 และเงินที่ได้จากการดำเนินงานปกติ และจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากการจัดหาเงินกู้ใหม่เพื่อทดแทนเงินกู้เดิม (refinancing) ในเดือนธันวาคม 2550 อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับไตรมาส 1 ปี 2551 คือ อัตราร้อยละ 29 และ อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับไตรมาส 1 ปี 2550 คือ อัตราร้อยละ 18 อัตราภาษีเงินได้ที่แตกต่างกันเกิดจากสิทธิประโยชน์จากการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย สำหรับโรงงานอะโรเมติกส์ได้สิ้นสุดลง ณ วันที่ 10 กันยายน 2550 จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทฯ ลดลง 44% เป็น 1,131 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2551 เมื่อ เทียบกับกำไรสุทธิ 2,036 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2550 5 5. งบดุล (หน่วย: ล้านบาท) 31 Mar, 2008 31 Dec, 2007 % Change สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน 40,856 36,482 +12% - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน - 33,570 34,332 -2% รวมสินทรัพย์ 74,426 70,814 +5% หนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน 36,908 34,408 +7% - หนี้สินไม่หมุนเวียน - 12,013 12,012 +0% รวมหนี้สิน 48,921 46,420 +5% ส่วนของผู้ถือหุ้น 12,877 12,877 - ทุนที่ออกและชำระแล้ว - กำไรสะสม - 12,384 11,253 +10% ส่วนเกินจากการตีมูลค่ายุติธรรม - 237 257 -8% ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 25,505 24,394 +5% รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 74,426 70,814 +5% ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มสูงขึ้น 12% จากสิ้นปี 2550 เป็นผลมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของมูลค่าของ สินค้าคงเหลือซึ่งได้แก่น้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 บริษัทฯ มีกำไรสะสมเพิ่มขึ้น 10% เป็น 12,384 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นใน ไตรมาส 1 ปี 2551 นอกเหนือจากรายการดังกล่าวข้างต้น ไม่มีรายการอื่นๆในงบดุล ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 เมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 6 6. อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงินระหว่างไตรมาส 1 ปี 2551 และ ไตรมาส 1 ปี 2550 อัตราส่วนกำไร 1Q 2008 1Q 2007 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) 5.6% 9.8% อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) 2.1% 4.5% อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เท่า) 6.9 3.1 อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 31 มีนาคม 2551 ณ 31 ธันวาคม 2550 อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.1 1.1 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.2 0.3 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.4 1.4 อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.4 0.5 อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.3 1.4 ที่มาในการคำนวณ อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น + ลูกหนี้การค้า) / หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น 7