คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน ไตรมาส 2/2551

14 สิงหาคม 2551
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับ ไตรมาสสอง ปี 2551 และระยะเวลา 6 เดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2551 1. ข้อมูลทางการเงินและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 2Q 2008 2Q 2007 1H 2008 1H 2007 ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 148.6 133.6 144.9 140.8 ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 91 107 175 210 อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) 32.3 34.7 32.4 35.2 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 23.3 9.0 15.3 8.4 รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 68,247 50,228 121,787 95,564 กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) 9,674 4,529 12,693 8,977 กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคาและ ค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) 8,947 4,000 11,268 7,936 กำไรสุทธิ (ล้านบาท) 5,814 1,894 6,944 3,929 (1) กำไรต่อหุ้น (บาท) 1.84 3.71 2.41 7.70 (2) กำไรต่อหุ้นปรับปรุง (บาท) 1.68 0.55 2.01 1.14 (1) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา - ไตรมาสสองของปี 2550 และครึ่งปีแรกของปี 2550 510 ล้านหุ้น - ไตรมาสสองของปี 2551 3,158 ล้านหุ้น - ครึ่งปีแรกของปี 2551 2,886 ล้านหุ้น (2) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน 3,461 ล้านหุ้น 1 2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สรุปราคาเฉลี่ย Platts สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 2Q 2008 2Q 2007 1Q 2008 1H 2008 1H 2007 Dubai 116.9 64.8 91.4 104.2 60.1 Tapis 129.5 75.0 102.5 116.0 69.3 น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 129.8 85.7 105.1 117.5 77.0 น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด 154.4 82.3 114.2 134.3 77.2 น้ำมันดีเซล (0.5%S) 154.5 81.3 114.4 134.4 75.7 น้ำมันเตา (180 cs) 92.6 54.0 74.6 83.6 49.5 LPG 75.8 50.4 73.4 74.6 48.4 พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) 1,330 1,170 1,123 1,227 1,108 (1) เบนซิน (ออกเทน 95)- (ดอลลาร์ต่อตัน) 1,104 728 894 999 655 ที่มา: Mean of Platts Singapore and PCI (1) แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากในไตรมาส 2 ปี 2551 โดยราคาน้ำมันดิบDubai และ Tapisได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงไตรมาส 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับใน ไตรมาส 1 ปี 2551 ราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย ในส่วนของราคาน้ำมันดีเซลนั้นได้ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นสืบเนื่องมาจากน้ำมันดีเซลนั้น มีความต้องการในการใช้มาก สำหรับราคาขาย LPG ในประเทศนั้นยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล โดยมีราคาหน้าโรงกลั่นที่ 11 บาทต่อกิโลกรัม (340 ดอลลาร์ต่อตัน หรือประมาณ 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 2 3. การผลิตและค่าการกลั่น 2Q 2008 2Q 2007 +/(-) 1H 2008 1H 2007 +/(-) กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 - 177.0 177.0 - ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 148.6 133.6 + 15.0 144.9 140.8 + 4.1 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น (%) (1) - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา (%) 34.7% 36.7% -2.0% 34.8% 35.4% -0.6% - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก (%) 54.2% 48.9% +5.3% 52.7% 49.2% +3.5% - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก (%) 11.1% 14.4% -3.3% 12.6% 15.5% -2.9% ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 91 107 -16 175 210 -35 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 23.3 9.0 +14.3 15.3 8.4 +6.9 (1) ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์ ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นในไตรมาส 2 ปี 2550 นั้นได้รับผลกระทบมาจากการที่โรงกลั่นได้มี การหยุดหน่วยหอกลั่นบรรยากาศ (Pipe still) 1 ตัว เพื่อทำความสะอาดเตาเผา (Decoking) สำหรับ ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นในไตรมาส 2 ปี 2551 ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นเนื่องมาจากค่าการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสนี้ ปริมาณการผลิตพาราไซลีนในไตรมาส 2 ปี 2551 ต่ำว่าในไตรมาส 2 ปี 2550 เนื่องจากการ กำไรขั้นต้นของอุตสาหกรรมพาราไซลีนนั้นลดลง จึงทำให้การเพิ่มปริมาณการผลิตพาราไซลีนไม่คุ้มค่า บริษัทมีค่าการกลั่น 23.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 2 ปี 2551 เพิ่มขึ้น 14.3 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล จากไตรมาส 2 ปี 2550ซึ่งมีค่าการกลั่นอยู่ที่ 9.0 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 3 4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 1 ปี 2551 และ ปี2550 (หน่วย: ล้านบาท) 2Q 2008 2Q 2007 +/(-) 1H 2008 1H 2007 +/(-) รายได้จากการขาย 68,247 50,228 18,019 121,787 95,564 26,223 ต้นทุนขาย (58,573) (45,699) (12,874) (109,094) (86,587) (22,507) กำไรขั้นต้น 9,674 4,529 5,145 12,693 8,977 3,716 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (1,217) (1,026) (191) (2,397) (2,033) (364) กำไรจากการขาย 8,457 3,503 4,954 10,296 6,944 3,352 บันทึก: - การกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน 8,586 3,021 5,565 10,534 5,790 4,744 - ปิโตรเคมี (129) 482 (611) (238) 1,154 (1,392) รายได้อื่น 18 26 (8) 25 42 (17) กำไรจากการดำเนินงาน 8,475 3,529 4,946 10,321 6,986 3,335 รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการดำเนินงาน - 162 (162) - 323 (323) ส่วนแบ่งกำไร 58 50 8 120 101 19 กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ 8,533 3,741 4,792 10,441 7,409 3,032 ดอกเบี้ยรับ 29 29 - 42 111 (69) ดอกเบี้ยจ่าย (281) (1,238) 957 (616) (2,523) 1,907 กำไรก่อนภาษีเงินได้ 8,281 2,532 5,749 9,867 4,997 4,870 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (2,467) (638) (1,829) (2,923) (1,068) (1,855) กำไรสุทธิ 5,814 1,894 3,920 6,944 3,929 3,015 รายได้จากการขายและต้นทุนขายของบริษัทในไตรมาส 2 ปี 2551 สูงกว่าในไตรมาส 2 ปี 2550 เนื่องจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับตัวสูงขึ้น กำไรขั้นต้นของบริษัทในไตรมาส 2 ปี 2551 เพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2550 มากกว่าสองเท่า เนื่องมาจากค่าการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นหลัก หากรวมถึงกำไรขั้นต้นในไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งน้อยกว่าในไตรมาส 1 ปี 2550 กำไรขั้นต้นของบริษัทสำหรับครึ่งปีแรกของปี 2551 นั้นสูงกว่าครึ่งแรกของปี 2550 อยู่ 41% ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันใน ปี 2550 ส่วนใหญ่เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายของกิจการขายผลิตภัณฑ์เคมีซึ่งเดิมดำเนินการโดยบริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทฯได้รับโอนกิจการดังกล่าวมาเมื่อเดือน กันยายน 2550 และค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น ในการจัดส่งผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้าพาณิชยกรรมและลูกค้าปลีก บริษัทไม่มีรายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานในไตรมาส 2 ปี 2551 เนื่องจากรายได้ ดังกล่าวนั้นเกิดจากการรับรู้กำไรรอตัดบัญชีจากการขายและเช่าสินทรัพย์กลับคืนที่บริษัทได้เข้าทำสัญญาในปี 2543 กับบริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัดและสัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงอันเป็นผลมาจากการที่บริษัทรับ โอนกิจการทั้งหมดของบริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัดในเดือนกันยายน 2550 ดอกเบี้ยจ่ายลดลงอย่างมากเป็นจำนวน 957 ล้านบาท (77%) ในไตรมาส 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 และเมื่อเทียบกับระยะเวลาครึ่งปีนั้น ดอกเบี้ยจ่ายลดลง 1,907 ล้านบาท (76%) ในครึ่งปีแรกของปี 2551 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2550 อันเป็นผลมาจากการลดลงของยอดหนี้สิน อันเนื่องมาจากการชำระคืนหนี้สินจากเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนในเดือนกันยายน 2550 เงินที่ได้จากการระดม ทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม 2551 และเงินที่ได้จากการดำเนินงานปกติ นอกจากนั้นดอกเบี้ยจ่าย 4 ที่ลดลงยังเป็นผลมาจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากการจัดหาเงินกู้ใหม่เพื่อทดแทนเงินกู้เดิม (refinancing) ในเดือน ธันวาคม 2550 อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับไตรมาส 2 และครึ่งปีแรกของปี 2551 คือ อัตราร้อยละ 30 เปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับไตรมาส 2 ปี 2550 ในอัตราร้อยละ 25 และครึ่งปีแรกของ ปี 2550 ในอัตราร้อยละ 21อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงในปี 2550 ซึ่งต่ำกว่าปี 2551 นั้นเนื่องจากบริษัทได้รับ สิทธิประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย สำหรับโรงงานอะโรเมติกส์ ซึ่งสิทธิประโยชน์นี้ได้สิ้นสุดลง ณ วันที่ 10 กันยายน 2550 จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทฯในไตรมาส 2 ปี 2551 เพิ่มขึ้น 3,920 ล้านบาท (207%) เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2550 และกำไรสุทธิสำหรับครึ่งปีแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้น 3,015 ล้านบาท (77%) จากครึ่งปีแรกของปี 2550 5 5. งบดุล (หน่วย: ล้านบาท ยกเว้นหน่วยร้อยละ) ณ 30 มิ.ย. ณ 31 มี.ค. 2551 2551 + / (-) + / (-) % สินทรัพย์ - สินทรัพย์หมุนเวียน 47,040 40,856 6,184 15% - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 30,915 33,570 (2,655) -8% รวมสินทรัพย์ 77,955 74,426 3,529 5% หนี้สิน - หนี้สินหมุนเวียน 29,871 36,908 (7,037) -19% - หนี้สินไม่หมุนเวียน 12,017 12,013 4 - รวมหนี้สิน 41,888 48,921 (7,033) -14% ส่วนของผู้ถือหุ้น - ทุนที่ออกและชำระแล้ว 17,075 12,877 4,198 33% - ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,032 - 4,032 - - กำไรสะสม 14,736 12,384 2,352 19% - ส่วนเกินจากการตีมูลค่ายุติธรรม 217 237 - - ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - 0% รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 36,067 25,505 10,562 41% รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 77,955 74,426 3,529 5% ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มสูงขึ้น 6,184 ล้านบาท จากวันที่ 31 มีนาคม 2551 เนื่องจากมูลค่าของสินค้าคงเหลือที่เพิ่มสูงขึ้น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนลดลง 2,655 ล้านบาทเนื่องจากภาษี เงินได้รอตัดบัญชีที่ลดลงเนื่องจากบริษัทมีรายได้ก่อนหักภาษีสำหรับครึ่งปีแรกของปี 2551 ซึ่งได้นำไปปรับลดยอด ภาษีที่เกิดจากขาดทุนสะสมคงค้างซึ่งบันทึกอยู่ในรายการภาษีเงินได้รอตัดบัญชี หนี้สินหมุนเวียนลดลง 7,037 ล้านบาทเนื่องจากยอดรวมเงินกู้ที่ลดลงถึงแม้ว่ายอดเจ้าหนี้การค้า จะเพิ่มสูงขึ้น บริษัทได้มีการชำระหนี้เงินกู้ระยะสั้นประมาณ 14.7 พันล้านบาทในไตรมาส 2 ปี 2551 โดยบริษัทได้ใช้เงินที่ได้มาจากจากการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์และเงินที่ได้จากการดำเนินงานปกติ ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 10,562 ล้านบาท เนื่องจาก (1) การเพิ่มขึ้นของทุนที่ออกและชำระแล้ว เป็นจำนวน 4,198 ล้านบาท(ราคาพาร์ของหุ้นที่ออกใหม่ในการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์) ในไตรมาส 2 ปี 2551 (2) ส่วนเกินมูลค่าหุ้นจำนวน 4,032 ล้านบาทซึ่งเกิดในไตรมาส 2 ปี 2551 และ (3) กำไรสะสม ที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,352 ล้านบาทซึ่งเป็นจำนวนสุทธิของกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปี 2551 จำนวน 5,814 ล้านบาท หักลบด้วยเงินปันผลจ่ายจำนวน 3,461 ล้านบาท 6 6. อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงินระหว่างไตรมาส 2 ปี 2551 และ ไตรมาส 2 ปี 2550 อัตราส่วนกำไร 2Q 2008 1Q 2008 2Q 2007 1H 2008 1H 2007 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) 14.2% 5.6% 9.0% 10.4% 9.4% อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) 8.5% 2.1% 3.8% 5.7% 4.1% อัตราส่วนความสามารถในการชำระ ดอกเบี้ย (เท่า) 31.8 6.9 3.2 18.3 3.1 อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 30 มิ.ย. 2551 ณ 31 มี.ค. 2551 ณ 31 ธ.ค. 2551 อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.6 1.1 1.1 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.4 0.2 0.3 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.6 1.4 1.4 อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.3 0.4 0.5 อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.5 1.3 1.4 ที่มาในการคำนวณ อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น + ลูกหนี้การค้า) / หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย -เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น ชื่อ : แดเนียล อี ไลออนส์ ตำแหน่ง : กรรมการผู้จัดการ วันที่ : 14 สิงหาคม 2551 7