คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน ไตรมาส 3/2551

13 พฤศจิกายน 2551
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับ ไตรมาสสาม ปี 2551 และระยะเวลา 9 เดือนสิ้นสุด 30 กันยายน 2551 1. ข้อมูลทางการเงินและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 3Q 2008 3Q 2007 9M 2008 9M 2007 ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 126.6 148.3 138.8 143.3 ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 69 102 244 312 อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) 33.9 34.1 32.9 34.8 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) -11.7 3.5 6.7 6.7 รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 62,263 49,541 184,050 145,105 กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) -3,705 1,840 8,988 10,817 กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคาและ ค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) -4,434 1,296 6,834 9,232 กำไรสุทธิ (ล้านบาท) -3,554 -380 3,391 3,550 (1) กำไรต่อหุ้น (บาท) -1.03 -0.59 1.10 6.37 กำไรต่อหุ้นปรับปรุง (บาท) (2) -1.03 -0.11 0.98 1.03 (1) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา - ไตรมาส 3 ปี 2550 647 ล้านหุ้น - 9 เดือนแรก ปี 2550 556 ล้านหุ้น - ไตรมาส 3 ปี 2551 3,461 ล้านหุ้น - 9 เดือนแรก ปี 2551 3,077 ล้านหุ้น (2) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน 3,461 ล้านหุ้น 1 2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สรุปราคาเฉลี่ย Platts สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 3Q 2008 2Q 2008 3Q 2007 9M 2008 9M 2007 Dubai 113.3 116.9 70.1 107.2 63.4 Tapis 125.2 129.5 79.4 119.1 72.7 น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 119.3 129.8 81.7 118.1 78.6 น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด 142.1 154.4 87.3 136.9 80.6 น้ำมันดีเซล (0.5%S) 139.0 154.5 86.5 136.0 79.3 น้ำมันเตา (180 cs) 102.5 92.6 59.6 89.9 52.9 LPG 77.7 75.8 51.7 75.6 49.5 พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) N/A 1,330 1,108 N/A 1,108 เบนซิน (ออกเทน 95) - (ดอลลาร์ต่อตัน) (1) 1,014 1,104 694 1,004 668 ที่มา: Mean of Platts Singapore and PCI (1) แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ปี 2551 และขึ้นไปถึงราคาสูงสุด ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที141 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (น้ำมันดูไบ) ก่อนที่จะปรับตัวลดลงอย่างมาก โดยราคาน้ำมันดูไบ ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 อยู่ที่ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบ Dubai และ Tapis ในไตรมาส 3 ลดลงจากไตรมาสก่อน 3-4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันเบนซิน น้ำมันอากาศยานและน้ำมันดีเซลในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ปรับตัว ลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาน้ำมันเตาปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่ ลดลง ราคาขาย LPG ในประเทศนั้นยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล โดยมีราคาหน้าโรงกลั่น ที่ 11 บาทต่อกิโลกรัม (320 ดอลลาร์ต่อตัน หรือประมาณ 28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) ราคาพาราไซลีน(Asian contract price) สำหรับเดือนกันยายนยังไม่สามารถตกลง กันได้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเนื่องมาจากราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวลงลงอย่างมาก และความต้องการของ พาราไซลีนลดลง 2 3. การผลิตและค่าการกลั่น 3Q2008 3Q2007 +/(-) 9M2008 9M2007 +/(-) กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 - 177.0 177.0 - ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น(พันบาร์เรลต่อวัน) 126.6 148.3 -21.7 138.8 143.3 -4.5 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น (%) (1) - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา (%) 37.0% 34.8% +2.2% 35.5% 35.2% +0.3% - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก (%) 47.6% 52.7% -5.1% 51.1% 50.4% +0.7% - น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก (%) 15.4% 12.5% +2.9% 13.4% 14.4% -1.0% ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 69 102 -33 244 312 -68 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) -11.7 3.5 -15.2 6.7 6.7 - (1) ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์ ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นในไตรมาส 3 ปี 2551 ต่ำกว่าในไตรมาส 3 ปี 2550 เนื่องมา จากค่าการกลั่นที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับบริษัทฯ ได้มีการหยุดหน่วยกลั่นตามกำหนดการที่วางไว้ เพื่อทำการเปลี่ยนสารเร่งปฏิกิริยา (catalyst) และในขณะเดียวกันได้ทำการซ่อมบำรุงย่อยๆ ในหน่วยอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกลั่น ปริมาณการผลิตพาราไซลีนในไตรมาส 3 ปี 2551 ต่ำว่าในไตรมาส 3 ปี 2550 เนื่องจาก การกำไรขั้นต้นของอุตสาหกรรมพาราไซลีนนั้นลดลง ค่าการกลั่นสำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ที่ -11.7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงจาก 3.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 3 ปี 2550 โดยค่าการกลั่นที่ลดลงนั้นได้รับผลกระทบในทางลบมาจากราคา น้ำมันดิบที่ปรับลดลงอย่างมากในช่วงไตรมาส 3 สัดส่วนของน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักลดลงจาก 52.7% ในไตรมาส 3 ปี 2550 เป็น 47.6% ในไตรมาส 3 ปี 2551 เป็นผลมาจากความต้องการใช้ของน้ำมันดีเซลที่ลดลง 3 4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 3 ปี 2551 และ ปี 2550 (หน่วย: ล้านบาท) 3Q 2008 3Q 2007 +/(-) 9M 2008 9M 2007 +/(-) รายได้จากการขาย 62,263 49,541 12,722 184,050 145,105 38,945 ต้นทุนขาย (65,968) (47,701) (18,267) (175,062) (134,288) (40,774) กำไรขั้นต้น (3,705) 1,840 (5,545) 8,988 10,817 (1,829) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (1,230) (1,067) (163) (3,627) (3,100) (527) กำไรจากการขาย (4,935) 773 (5,708) 5,361 7,717 (2,356) บันทึก: - การกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน (5,024) 492 (5,516) 5,510 6,282 (772) - ปิโตรเคมี 89 281 (192) (149) 1,435 (1,584) รายได้อื่น 56 51 5 81 93 (12) กำไรจากการดำเนินงาน (4,879) 825 (5,704) 5,442 7,810 (2,368) รายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการดำเนินงาน - 107 (107) - 430 (430) ส่วนแบ่งกำไร 45 47 (2) 166 148 18 กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ (4,834) 979 (5,813) 5,608 8,388 (2,780) ดอกเบี้ยรับ 6 22 (16) 48 133 (85) ดอกเบี้ยจ่าย (266) (701) 435 (882) (3,224) 2,342 กำไรก่อนภาษีเงินได้ (5,094) 300 (5,394) 4,774 5,297 (523) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 1,540 (680) 2,220 (1,383) (1,747) 364 กำไรสุทธิ (3,554) (380) (3,174) 3,391 3,550 (159) รายได้จากการขายและต้นทุนขายของบริษัทในไตรมาส 3 ปี 2551 สูงกว่าในไตรมาส 3 ปี 2550 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณการขายลดลง ค่าการกลั่นที่ปรับตัวลดลงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนขั้นต้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เป็นจำนวน 3,705 ล้านบาท ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับกำไรขั้นต้น 1,840 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2550 บริษัทฯ มีกำไร ขั้นต้นสำหรับ 9 เดือนแรก ปี 2551 จำนวน 8,988 ล้านบาท ลดลง 1,829 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันปี ก่อนหน้า ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มสูงขึ้น 163 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบระหว่างไตรมาส 3 ปี 2551 และ ไตรมาส 3 ปี 2550 หรือเพิ่มขึ้น 527 ล้านบาทเมื่อเทียบระหว่างช่วง 9 เดือนของปี 2551 และ 2550 ส่วนใหญ่เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายของกิจการ ขายผลิตภัณฑ์เคมีซึ่งเดิมดำเนินการโดยบริษัท เอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทฯได้รับโอนกิจการดังกล่าวมาเมื่อเดือน กันยายน 2550 การเพิ่มขึ้นในส่วนของค่าขนส่งในการจัดส่งผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้าพาณิชยกรรมและลูกค้าปลีก และค่าใช้จ่าย ในการสนับสนุนการขายสำหรับธุรกิจค้าปลีก 4 บริษัทไม่มีรายได้อื่นที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานในไตรมาส 3 ปี 2551 เนื่องจากรายได้ ดังกล่าวนั้นเกิดจากการรับรู้กำไรรอตัดบัญชีจากการขายและเช่าสินทรัพย์กลับคืนที่บริษัทได้เข้าทำสัญญาใน ปี 2543 กับบริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) จำกัด และสัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดลงอันเป็นผลมาจาก การที่บริษัทรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัทเอ็กซอนโมบิลเคมี(ประเทศไทย) จำกัด ในเดือนกันยายน 2550 ดอกเบี้ยจ่ายลดลงอย่างมากเป็นจำนวน 435 ล้านบาท ในไตรมาส 3 ปี 2551 เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2550 และเมื่อเทียบกับระยะเวลา 9 เดือนนั้น ดอกเบี้ยจ่ายลดลง 2,342 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการลดลงของยอดหนี้สินอันเนื่องมาจากการชำระคืนหนี้สินจากเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนใน เดือนกันยายน 2550 เงินที่ได้จากการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม 2551 และเงินที่ได้ จากการดำเนินงานปกติ นอกจากนั้นดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงยังเป็นผลมาจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยอันเนื่อง มาจากการจัดหาเงินกู้ใหม่เพื่อทดแทนเงินกู้เดิม (refinancing) ในเดือนธันวาคม 2550 อัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับไตรมาส 3 และช่วง 9 เดือนของปี 2551 คือ อัตราร้อยละ 30 และ 29 ตามลำดับสำหรับอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริงสำหรับไตรมาส 3 และช่วง 9 เดือนของปี 2550 นั้นสูง กว่าร้อยละ 30 เนื่องจากกลับรายการภาษีเงินได้รอตัดบัญชีซึ่งเกิดจากการรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท เอ็กซอนโมบิลเคมี (ประเทศไทย) ในไตรมาส 3 ปี 2550 ซึ่งบางส่วนได้ถูกหักล้างโดยภาษีเงินได้ที่เกิดจาก ธุรกิจอะโรเมติกส์ซึ่งบริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่ง ประเทศไทย ซึ่งสิทธิประโยชน์นี้ได้สิ้นสุดลง ณ วันที่ 10 กันยายน 2550 จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทฯในไตรมาส 3 ปี 2551 ลดลง 3,174 ล้านบาท จากไตรมาส 3 ปี 2550 และกำไรสุทธิสำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลง 159 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปี 2550 5 5. งบดุล (หน่วย: ล้านบาท ยกเว้นหน่วยร้อยละ) 30 ก.ย 51 30 มิ.ย. 51 + / (-) + / (-) % สินทรัพย์ - สินทรัพย์หมุนเวียน 43,635 47,040 (3,405) -7% - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 32,174 30,915 1,259 4% รวมสินทรัพย์ 75,809 77,955 (2,146) -3% หนี้สิน - หนี้สินหมุนเวียน 34,438 29,871 4,567 15% - หนี้สินไม่หมุนเวียน 10,639 12,017 (1378) -11% รวมหนี้สิน 45,077 41,888 3,189 8% ส่วนของผู้ถือหุ้น - ทุนที่ออกและชำระแล้ว 17,075 17,075 - - - ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,032 4,032 - - - กำไรสะสม 9,452 14,736 (5,284) -36% - ส่วนเกินจากการตีมูลค่ายุติธรรม 166 217 (51) - ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - 0% รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 30,732 36,067 (5,335) -15% รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 75,809 77,955 (2,146) -3% ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง 3,405 ล้านบาท จากวันที่ 30 มิถุนายน 2551 จากยอดลูกหนี้การค้าอันป็นผลมาจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับยอดเงินสด คงค้างในบัญชีลดลง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 1,259 ล้านบาทจากภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่เพิ่มขึ้นเนื่อง จากบริษัท ฯ มียอดขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2551 หนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 4,567 ล้านบาทเนื่องจากยอดรวมเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นและยอดเจ้าหนี้การค้า จะลดลง หนี้สินไม่หมุนเวียนลดลงเนื่องจากส่วนของหนี้สินระยะยาวที่จะครบกำหนดภายใน 1 ปี เป็นจำนวน 1,375 ล้านบาทได้ถูกปรับย้ายไปรวมกับหนี้สินหมุนเวียน ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 5,335 ล้านบาท เนื่องจาก (1) ขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3 จำนวน 3,554 ล้านบาท (2) เงินปันผลระหว่างกาลที่จ่ายออกจากกำไรสะสม 1,730 ล้านบาท และ (3) ส่วนเกินจาก การตีมูลค่ายุติธรรม 51 ล้านบาท 6 6. อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงินระหว่างไตรมาส 3 ปี 2551 และ ไตรมาส 3 ปี 2550 อัตราส่วนกำไร 3Q 2008 2Q 2008 3Q 2007 9M 2008 9M 2007 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) -6.0% 14.2% 3.7% 4.9% 7.5% อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) -5.7% 8.5% -0.8% 1.8% 2.4% อัตราส่วนความสามารถในการชำระ ดอกเบี้ย (เท่า) -16.7 31.8 1.8 7.7 2.9 อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 30 ก.ย.2551 30 มิ.ย. 2551 ณ 31 ธ.ค. 2551 อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.3 1.6 1.1 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.2 0.4 0.3 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.0 0.6 1.4 อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.3 0.3 0.5 อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.0 0.5 1.4 ที่มาในการคำนวณ อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น + ลูกหนี้การค้า)/ หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย - เงินสดและรายการ เทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น ชื่อ: แดเนียล อี ไลออนส์ ตำแหน่ง: กรรมการผู้จัดการ วันที่: 13 พฤศจิกายน 2551 F 7