คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน ไตรมาส 2/2552

14 สิงหาคม 2552
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับไตรมาสสอง ปี 2552 และระยะเวลา 6 เดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2552 1. ข้อมูลทางการเงินและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ งวด 6 งวด 6 ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 เดือน เดือน ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551 ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 143.0 148.6 140.6 144.9 ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 117 91 199 175 อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) 34.8 32.3 35.0 32.4 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 11.9 23.3 10.2 15.3 รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 42,305 68,247 75,790 121,787 กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) 6,263 9,652 10,032 12,642 กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม ราคาและค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) 5,557 8,947 8,733 11,268 กำไรสุทธิ (ล้านบาท) 3,558 5,814 5,384 6,944 (1) กำไรต่อหุ้น (บาท) 1.03 1.84 1.56 2.41 กำไรต่อหุ้นปรับปรุง (บาท) (2) 1.03 1.68 1.56 2.01 (1) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา - ไตรมาสสองของ ปี 2551 3,158 ล้านหุ้น - งวด 6 เดือนของ ปี 2551 2,886 ล้านหุ้น - ไตรมาสสอง และ งวด 6 เดือนของ ปี 2552 3,461 ล้านหุ้น (2) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน 3,461 ล้านหุ้น 1 2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สรุปราคาเฉลี่ย Platts สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป งวด 6 งวด 6 ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เดือน เดือน ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2552 ปี 2551 Dubai 59.1 116.9 44.3 51.7 104.2 Tapis 61.7 129.5 48.4 55.1 116.0 น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 68.7 129.8 54.8 61.8 117.5 น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด 66.5 154.4 55.4 61.0 134.3 น้ำมันดีเซล (0.5%S) 66.2 154.5 53.2 59.7 134.4 น้ำมันเตา (180 cs) 53.3 92.6 39.0 46.1 83.6 LPG 36.2 75.8 39.4 37.8 74.6 พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) 957 1,330 727 842 1,227 เบนซิน (ออกเทน 95) - 584 1,104 466 525 999 (ดอลลาร์ต่อตัน) (1) ที่มา: Mean of Platts Singapore and PCI (1) แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล ราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 2 ปี 2552 ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาในไตรมาส 1 โดยไตรมาส 2 ราคา น้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 59.1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบทาปิสเฉลี่ยอยู่ที่ 61.7 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล เพิ่มขึ้นประมาณ 13 - 15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยสำหรับไตรมาส 1 อย่างไรก็ตาม ที่ระดับราคานี้ยังคงต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในไตรมาส 2 ของปี 2551 ประมาณ 58 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรลสำหรับน้ำมันดิบดูไบ และต่ำกว่าประมาณ 68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สำหรับน้ำมันดิบทาปิส ในไตรมาส 2 ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยรวมยกเว้นราคาน้ำมันปิโตรเลียมเหลว (LPG) ปรับตัวสูงขึ้นสอดคล้องกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 สำหรับราคาขายน้ำมัน ปิโตรเลียมเหลวในประเทศยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล โดยมีราคาหน้าโรงกลั่นที่ 11 บาทต่อ กิโลกรัม (320 ดอลลาร์ต่อตัน หรือประมาณ 28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) ราคาพาราไซลีน(Asian contract price) สำหรับไตรมาส 2 นั้นปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 1 2 3. การผลิตและค่าการกลั่น งวด 6 งวด 6 ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 + / (-) + / (-) เดือน เดือน ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551 กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 - 177.0 177.0 - ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 143.0 148.6 -5.6 140.6 144.9 -4.3 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น (%) น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา(%) (1) 34.9% 34.7% +0.2% 34.4% 34.8% -0.4% น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก (%) 50.5% 54.2% -3.7% 50.4% 52.7% -2.3% น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก (%) 14.6% 11.1% +3.5% 15.2% 12.6% +2.6% ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 117 91 +26 199 175 +24 ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 11.9 23.3 -11.4 10.2 15.3 -5.1 (1) ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์ ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นสำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 ต่ำกว่าไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ 5,600 บาร์เรลต่อวันเนื่องมาจากการอ่อนตัวของค่าการกลั่น และเนื่องจากกำไรขั้นต้นของอุตสาหกรรมพาราไซลีน ปรับตัวสูงขึ้น ปริมาณการผลิตพาราไซลีนในไตรมาสนี้จึงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 91,000 ตันในไตรมาส 2 ปี 2551 เป็น 117,000 ตันในไตรมาส 2 ปี 2552 ค่าการกลั่นสำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ 11.9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับค่าการกลั่นที่ 23.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 2 ปี 2551 ในขณะที่ค่าการกลั่นทั้งสองไตรมาสดังกล่าวนั้นได้รวมผลกำไรจาก สต็อกน้ำมัน หากแต่ค่าการกลั่นไตรมาส 2 ปี 2552 นั้นต่ำกว่า ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากกำไรจากสต็อกน้ำมันที่ น้อยกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 สัดส่วนของน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักลดลงเหลือ 50.5% ในไตรมาส 2 ปี 2552 จาก 54.2% ใน ไตรมาส 2 ปี 2551 และสัดส่วนของน้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนักเพิ่มเป็น 14.6% ในไตรมาส 2 ปี 2552 จาก 11.1% ในไตรมาส 2 ปี 2551 เนื่องจากบริษัทมีการจัดการวัตถุดิบที่ใช้ในการกลั่นเพื่อให้ได้ผลกำไรสูงสุด (Raw materials optimization) 3 4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 2 ปี 2552 และ ปี 2551 (หน่วย: ล้านบาท) ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 งวด 6 เดือน งวด 6 เดือน + / (-) + / (-) ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551 รายได้จากการขาย 42,305 68,247 (25,942) 75,790 121,787 (45,997) ต้นทุนขาย (36,042) (58,595) 22,553 (65,758) (109,145) 43,387 กำไรขั้นต้น 6,263 9,652 (3,389) 10,032 12,642 (2,610) ค่าใช้จ่ายในการขาย (1,093) (1,086) (7) (2,081) (2,138) 57 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (112) (109) (3) (207) (208) 1 กำไรจากการขาย 5,058 8,457 (3,399) 7,744 10,296 (2,552) บันทึก: - การกลั่นน้ำมันและจัด จำหน่ายน้ำมัน 4,580 8,586 (4,006) 7,479 10,534 (3,055) - ปิโตรเคมี 478 (129) 607 265 (238) 503 รายได้อื่น 22 18 4 34 25 9 กำไรจากการดำเนินงาน 5,080 8,475 (3,395) 7,778 10,321 (2,543) ส่วนแบ่งกำไร 70 58 12 135 120 15 กำไรก่อนดอกเบี้ยและ ภาษีเงินได้ 5,150 8,533 (3,383) 7,913 10,441 (2,528) ต้นทุนทางการเงิน-สุทธิ (119) (252) 133 (321) (574) 253 กำไรก่อนภาษีเงินได้ 5,031 8,281 (3,250) 7,592 9,867 (2,275) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (1,473) (2,467) 994 (2,208) (2,923) 715 กำไรสุทธิ 3,558 5,814 (2,256) 5,384 6,944 (1,560) รายได้จากการขายและต้นทุนขายสำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 นั้นลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ซึ่งสะท้อนถึงราคาเฉลี่ยสำหรับน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่ลดลง รวมถึงปริมาณการขายที่ลดลง กำไรขั้นต้นในไตรมาส 2 ปีนี้ ต่ำกว่ากำไรขั้นต้นสำหรับไตรมาส 2 ปี 2551 เป็นจำนวน 3,389 ล้านบาท เนื่องจากค่าการกลั่นที่ปรับตัวลดลงเป็นสาเหตุหลัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่ 1,205 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียง กับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า กำไรจากการขายสำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ 5,058 ล้านบาท ต่ำกว่ากำไรจากการขายสำหรับ ไตรมาส 2 ปี 2551 เป็นจำนวน 3,399 ล้านบาท เป็นผลมาจากส่วนธุรกิจการกลั่นและการจัดจำหน่ายน้ำมันที่ ลดลงเป็นจำนวน 4,006 ล้านบาท หักกับส่วนธุรกิจปิโตรเคมีที่มีผลประกอบการดีขึ้นจำนวน 607 ล้านบาท การปรับตัวสูงขึ้นของผลประกอบการธุรกิจปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ เป็นเพราะกำไรที่สูงขึ้นของอุตสาหกรรม พาราไซลีน ประกอบกับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น 4 ต้นทุนทางการเงินสุทธิสำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 ลดลง 53% หรือคิดเป็นจำนวน 133 ล้านบาท จากไตรมาส 2 ปี 2551 อันเป็นผลมาจากการลดลงของยอดหนี้สิน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 3,558 ล้านบาทในไตรมาส 2 ปี 2552 คิดเป็นจำนวน 2,256 ล้านบาทลดลงจากกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปี 2551 5 5. งบดุล (หน่วย: ล้านบาท ยกเว้นหน่วยร้อยละ) ณ 30 มิ.ย. ณ 31 มี.ค. 52 52 + / (-) + / (-) % สินทรัพย์ - สินทรัพย์หมุนเวียน 28,667 22,199 6,468 29% - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 34,627 35,900 (1,273) (4%) รวมสินทรัพย์ 63,294 58,099 5,195 9% หนี้สิน - หนี้สินหมุนเวียน 29,545 26,596 2,949 11% - หนี้สินไม่หมุนเวียน 7,914 9,255 (1,341) (14%) รวมหนี้สิน 37,459 35,851 1,608 4% ส่วนของผู้ถือหุ้น - ทุนที่ออกและชำระแล้ว 17,075 17,075 - - - ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,032 4,032 - - - กำไรสะสม 4,580 1,023 3,557 348% - ส่วนเกินจากการตีมูลค่า ยุติธรรม 141 111 30 27% ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 25,835 22,248 3,587 16% รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 63,294 58,099 5,195 9% ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 6,468 ล้านบาทจากไตรมาสที่แล้ว โดยหลัก เนื่องมาจากยอดสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นอันป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับตัวสูงขึ้น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนลดลง 1,273 ล้านบาท อันเนื่องมาจากยอดกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 ส่งผลให้ยอดภาษีเงินได้รอตัดบัญชีลดลง ส่วนของหนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,949 ล้านบาท ในขณะที่หนี้สินไม่หมุนเวียนลดลงเป็น จำนวน 1,341 ล้านบาทเทียบกับยอดในไตรมาส 1 การเพิ่มขึ้นของยอดหนี้สินหมุนเวียนในไตรมาสนี้ เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดเจ้าหนี้สำหรับการซื้อน้ำมันดิบ ประกอบกับยอดเงินกู้ยืมระยะสั้นที่สูงขึ้น ทั้งนี้ บริษัทได้มีการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวจากกลุ่มสถาบันการเงินที่ถึงกำหนดชำระเป็นจำนวนเงิน 1,375 ล้านบาท ในเดือนมิถุนายน ปี 2552 ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 3,587 ล้านบาท เป็นผลมาจากยอดกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 จำนวน 3,558 ล้านบาท 6 6. อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนกำไร ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 งวด 6 เดือน งวด 6 เดือน ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2552 ปี 2551 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) 14.8% 14.1% 11.3% 13.2% 10.4% อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) 8.4% 8.5% 5.5% 7.1% 5.7% อัตราส่วนความสามารถในการชำระ 46.3 31.8 15.5 26.9 18.3 ดอกเบี้ย (เท่า) อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 30 มิ.ย. 52 ณ 31 มี.ค. 52 ณ 31 ธ.ค. 51 อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.0 0.8 0.5 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.2 0.2 0.1 อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.9 1.1 1.4 อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.3 0.4 0.0 อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.9 1.1 1.3 ที่มาในการคำนวณ อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น + ลูกหนี้การค้า) / หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม = หนี้เงินกู้ระยะสั้น + หนี้เงินกู้ระยะยาว อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย - เงินสดและรายการ เทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น ชื่อ : แดเนียล อี ไลออนส์ ตำแหน่ง : กรรมการผู้จัดการ วันที่ : 14 สิงหาคม 2552 7