ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน ไตรมาส 4 ปี2552
26 กุมภาพันธ์ 2553
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
(มหาชน) สำหรับไตรมาส 4 ปี 2552 และสำหรับปี 2552
1. ข้อมูลทางการเงินและ ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 4
ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 132.9 136.0 134.5 138.1
ปริมาณการผลิตพาราไซลีน (พันตัน) 82 71 368 316
อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) 33.3 34.8 34.3 33.4
ค่าการกลั่น (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 2.1 -28.3 5.6 -2.3
กำไรขั้นต้นของพาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) n/a n/a 116 -81
รายได้จากการขาย (ล้านบาท) 44,829 38,184 162,910 222,234
กำไรขั้นต้น (ล้านบาท) 732 -13,179 11,134 -4,252
กำไรขั้นต้นก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม
ราคาและค่าตัดจำหน่าย, EBITDA (ล้านบาท) 5 -13,892 8,417 -7,058
กำไรสุทธิ (ล้านบาท) -362 -10,255 4,451 -6,864
กำไรต่อหุ้น (บาท) (1) -0.10 -2.96 1.29 -2.16
กำไรต่อหุ้นปรับปรุง (บาท) (2) -0.10 -2.96 1.29 -1.98
(1) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา
? สำหรับ ปี 2551 3,174 ล้านหุ้น
? ไตรมาส 4 ปี 2551, ไตรมาส 4 ปี 2552 และสำหรับปี 2552 3,461 ล้านหุ้น
(2) คำนวณจากจำนวนหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน 3,461 ล้านหุ้น
1
2. ราคาอ้างอิงน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
สรุปราคาเฉลี่ย Platts สิงคโปร์ ของราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูป
ไตรมาส 4 ไตรมาส 4 ไตรมาส 3
หน่วย: ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2552 ปี 2551
Dubai 75.4 52.6 67.9 61.7 93.6
Tapis 77.8 59.7 71.6 64.9 104.2
น้ำมันเบนซิน (ออกเทน 95) 80.5 56.3 76.9 70.2 102.6
น้ำมันอากาศยาน / น้ำมันก๊าด 82.8 74.7 75.2 70.0 121.4
น้ำมันดีเซล (0.5%S) 81.7 70.3 74.9 69.0 119.5
น้ำมันเตา (180 cs) 70.9 44.8 64.9 57.0 78.6
LPG 58.0 47.9 47.7 45.3 68.7
พาราไซลีน (ดอลลาร์ต่อตัน) 953 673 1,013 913 1,119
เบนซิน (ออกเทน 95) -
(ดอลลาร์ต่อตัน) (1) 684 479 653 597 872
ที่มา: Mean of Platts Singapore and PCI
(1) แปลงค่าเป็นดอลลาร์ต่อตัน โดย 1 ตัน = 8.5 บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบไตรมาส 4 ปี 2552 ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน
โดยน้ำมันดิบดูไบและทาปิสเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงราคา 68 - 82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล น้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย
อยู่ที่ 75.4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบทาปิสเฉลี่ยอยู่ที่ 77.8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่า
ราคาในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 43% และ 30% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สำหรับระดับราคาน้ำมันดิบ
เฉลี่ยปี 2552 นับว่ายังคงต่ำกว่าระดับราคาในปี 2551 อยู่มาก โดยปี 2552 น้ำมันดิบดูไบมีราคาเฉลี่ย
อยู่ที่ 61.7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบทาปิสมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 64.9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับ
ราคาเฉลี่ยที่ 93.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลสำหรับน้ำมันดิบดูไบ และราคาเฉลี่ยที่ 104.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สำหรับน้ำมันดิบทาปิส ในปี 2551
ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยรวมในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส
ก่อนตามการขึ้นของราคาน้ำมันดิบ ในขณะที่ราคาน้ำมันอากาศยาน ราคาน้ำมันดีเซล และราคาน้ำมันเตา
ปรับตัวสูงขึ้นสอดคล้องกับการปรับตัวของราคาน้ำมันดิบ แต่การปรับขึ้นของราคาน้ำมันเบนซินมีน้อยกว่า
ส่งผลให้ค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมลดลงในไตรมาสนี้ ส่วนราคาน้ำมันปิโตรเลียมเหลว (LPG) ยังคงอยู่
ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลโดยราคาหน้าโรงกลั่นในไตรมาส 4 เฉลี่ยอยู่ที่ 11.2 บาทต่อกิโลกรัม (336
ดอลลาร์ต่อตัน หรือ 29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) สำหรับการเปรียบเทียบปี 2552 กับปี 2551 ส่วนต่างราคา
น้ำมันอากาศยานและราคาน้ำมันดีเซลเทียบกับราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในปี 2552 เนื่องจากการชลอตัว
ของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันเตากับราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวสูงขึ้น
เป็นผลมาจากราคาน้ำมันเตาปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าการปรับตัวของราคาน้ำมันดิบ
ราคาพาราไซลีน (Asian contract price) สำหรับไตรมาส 4 อยู่ที่ 953 ดอลลาร์
ต่อตัน ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาส 3 สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของส่วนต่างของราคาพาราไซลีน
กับราคาวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม สำหรับการเปรียบเทียบปี 2552 กับปี 2551 ถึงแม้ว่าราคาพาราไซลีนจะ
ปรับตัวลดลง หากแต่ราคาของวัตถุดิบปรับตัวลดลงมากกว่า เป็นผลให้กำไรขั้นต้นของพาราไซลีนปรับตัวสูงขึ้น
2
3. การผลิตและค่าการกลั่น
ไตรมาส ไตรมาส
4 ปี 4 ปี
2552 2551 + / (-) ปี 2552 ปี 2551 + / (-)
กำลังการกลั่น (พันบาร์เรลต่อวัน) 177.0 177.0 - 177.0 177.0 -
ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่น
(พันบาร์เรลต่อวัน) 132.9 136.0 -3.1 134.5 138.1 -3.6
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่น (%)
-น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา(%)(1) 35.0% 35.4% -0.4% 34.8% 35.4% -0.6%
-น้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนัก(%) 49.7% 49.0% 0.7% 50.2% 50.6% -0.4%
-น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก(%) 15.3% 15.6% -0.3% 15.0% 14.0% 1.0%
ปริมาณการผลิตพาราไซลีน
(พันตัน) 82 71 11 368 316 52
กำไรขั้นต้นของพาราไซลีน
(ดอลลาร์ต่อตัน) n/a n/a - 116 -81 197
ค่าการกลั่น(ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) 2.1 -28.3 30.4 5.6 -2.3 7.9
(1) ไม่รวมรีฟอร์เมตที่ส่งไปยังโรงงานอะโรเมติกส์
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 น้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นมีปริมาณต่ำกว่าไตรมาส 4 ปี 2551 สาเหตุหลัก
เนื่องมาจากการอ่อนตัวของค่าการกลั่นของอุตสาหกรรม ปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นอยู่ในระดับสูงในช่วง
ครึ่งปีแรกและลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นตามแผนงานในช่วง
ไตรมาส 3 และค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในไตรมาส 4 ทำให้ปริมาณ
น้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นสำหรับทั้งปี 2552 อยู่ที่ 134,500 บาร์เรลต่อวัน ลดลงประมาณ 3,600 บาร์เรลต่อวัน
เมื่อเทียบกับปี 2551
ทั้งนี้ โรงกลั่นมีสัดส่วนการผลิตน้ำมันในไตรมาส 4 และทั้งปี 2552 ใกล้เคียงกับสัดส่วนการผลิต
ในปี 2551
ปริมาณการผลิตพาราไซลีนในไตรมาส 4 ปี 2552 อยู่ที่ 82,000 ตัน และ สำหรับทั้งปี 2552
อยู่ที่ 368,000 ตัน สำหรับปี 2552 บริษัทฯ ผลิตพาราไซลีนสูงกว่าปี 2551 จำนวน 52,000 ตัน หรือสูงขึ้น
ร้อยละ 16 เนื่องมาจากกำไรที่ดีขึ้นของผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ ทั้งนี้ กำไรขั้นต้นของพาราไซลีนอยู่ที่ 116
ดอลลาร์ต่อตันในปี 2552 เทียบกับการขาดทุนที่ 81 ดอลลาร์ต่อตันในปี 2551
ค่าการกลั่นโดยรวมของไตรมาสที่ 4 ปี 2552 อยู่ที่ 2.1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับการขาดทุน
28.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไตรมาส 4 ปี 2551 อันเป็นผลมาจากกำไรจากสต็อกน้ำมัน ในขณะที่ค่าการกลั่น
ของอุตสาหกรรมมีระดับที่ลดลง
ค่าการกลั่นโดยรวมทั้งปีมีการปรับตัวสูงขึ้นจากการขาดทุน 2.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2551
มาเป็นกำไร 5.6 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลในปี 2552 ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าความผันผวนของราคาน้ำมันดิบมักจะส่ง
ผลต่อค่าการกลั่นโดยรวมอันเนื่องมาจากกำไรขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน ในปี 2551 ราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัว
สูงขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกและปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อพิจารณาทั้งปี จะเห็นว่าราคาน้ำมันดิบ
ณ สิ้นปีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปีก่อนหน้ามาก ทำให้เกิดการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน ส่งผลให้ค่าการกลั่นโดยรวม
เกิดการขาดทุน ในปี 2552 ราคาน้ำมันดิบยังคงมีความผันผวนแต่ปรับตัวสูงขึ้นจากสิ้นปีก่อนหน้า ทำให้เกิด
กำไรจากสต๊อกน้ำมันซึ่งส่งผลดีต่อค่าการกลั่นโดยรวม แม้ว่าค่าการกลั่นโดยรวมในปี 2552 จะดีขึ้นมากเมื่อ
เทียบกับปี 2551 อย่างไรก็ตาม ถ้าหักผลกำไรขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันแล้วจะพบว่าการกลั่นทำกำไรได้น้อยลง
3
4. ผลประกอบการด้านการเงินประจำไตรมาส 4 ปี 2552 และประจำปี 2552
(หน่วย: ล้านบาท)
ไตรมาส 4 ไตรมาส 4
ปี 2552 ปี 2551 + / (-) ปี 2552 ปี 2551 + / (-)
รายได้จากการขาย 44,829 38,184 6,645 162,910 222,234 (59,324)
ต้นทุนขาย (44,097) (51,363) 7,266 (151,776)(226,486) 74,710
กำไรขั้นต้น 732 (13,179) 13,911 11,134 (4,252) 15,386
ค่าใช้จ่ายในการขาย การ
บริหาร และค่าตอบแทน
ผู้บริหาร (1,237) (1,215) (22) (4,724) (4,781) 57
กำไรจากการขาย (505) (14,394) 13,889 6,410 (9,033) 15,443
บันทึก:
- การกลั่นน้ำมันและจัด
จำหน่ายน้ำมัน (553) (12,679) 12,126 5,931 (7,169) 13,100
- ปิโตรเคมี 48 (1,715) 1,763 479 (1,864) 2,343
รายได้อื่น 2 6 (4) 59 87 (28)
กำไรจากการดำเนินงาน (503) (14,388) 13,885 6,469 (8,946) 15,415
ส่วนแบ่งกำไร 69 52 17 262 218 44
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี
เงินได้ (434) (14,336) 13,902 6,731 (8,728) 15,459
ต้นทุนทางการเงิน-สุทธิ (104) (355) 251 (536) (1,189) 653
กำไรก่อนภาษีเงินได้ (538) (14,691) 14,153 6,195 (9,917) 16,112
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 176 4,436 (4,260) (1,744) 3,053 (4,797)
กำไร/(ขาดทุน)สุทธิ (362) (10,255) 9,893 4,451 (6,864) 11,315
ในไตรมาส 4 ปี 2552 บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจำนวน 732 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,911 บาทจาก
ไตรมาส 4 ปี 2551 เนื่องมาจากค่าการกลั่นและกำไรขั้นต้นของพาราไซลีนปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่ยอดขาย
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงเล็กน้อย
สำหรับทั้งปี 2552 บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 11,134 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีผลขาดทุน
4,252 ล้านบาท ผลประกอบการที่ดีขึ้นมากนี้ส่วนใหญ่เกิดจากกำไรจากสต็อกน้ำมัน ในขณะที่ค่าการกลั่นของ
อุตสาหกรรมอ่อนตัวลงและยอดขายมีระดับที่ลดลงเล็กน้อย
ค่าใช้จ่ายในการขาย การบริหาร และค่าตอบแทนผู้บริหารสำหรับไตรมาสที่ 4 และทั้งปี 2552 มี
จำนวน 1,237 ล้านบาท และ 4,724 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับปี 2551
บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการขายสำหรับไตรมาส 4 ปี 2552 อยู่ที่ 505 ล้านบาท เทียบกับผลขาดทุน
จากการขาย 14,394 ล้านบาทในไตรมาส 4 ปี 2551 ผลขาดทุนที่ลดลงเป็นจำนวน 13,889 ล้านบาท เป็นผล
มาจากส่วนธุรกิจการกลั่นและการจัดจำหน่ายน้ำมัน 12,126 ล้านบาท และส่วนธุรกิจปิโตรเคมี 1,763 ล้าน
บาท เมื่อรวมทั้งปี 2552 บริษัทฯ มีกำไรจากการขายทั้งสิ้น 6,410 ล้านบาท เทียบกับผลขาดทุนจากการขาย
9,033 ล้านบาทในปี 2551
4
รายได้อื่นประกอบด้วยเงินปันผลรับจากบริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ
กำไรจากการขายสินทรัพย์
ต้นทุนทางการเงินสำหรับไตรมาส 4 ปี 2552 อยู่ที่ 104 ล้านบาท ลดลง 355 ล้านบาทจากไตรมาส
4 ปี 2551 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและยอดหนี้สินของบริษัทฯลดลง ทั้งนี้ ต้นทุนทางการเงินสำหรับปี 2552
ลดลง 653 ล้านบาท หรือคิดเป็น 55% จากปี 2551
บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เป็นเครดิตในไตรมาส 4 ปี 2552 และไตรมาส 4 ปี 2551
ตลอดจนสำหรับทั้งปี 2551 เนื่องจากมีผลขาดทุนสุทธิในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับทั้งปี 2552 บริษัทฯ มี
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จำนวน 1,744 ล้านบาท คิดเป็นอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริง 28%
ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ทำให้บริษัทฯ มียอดขาดทุนสุทธิ 362 ล้านบาทในไตรมาส 4 ปี 2552 และ
มียอดกำไรสุทธิ 4,451 ล้านบาทในปี 2552
5
5. งบดุล
(หน่วย: ล้านบาท ยกเว้นหน่วยร้อยละ)
ณ 31 ธ.ค. ณ 31 ธ.ค.
52 51 + / (-) + / (-) %
สินทรัพย์
- สินทรัพย์หมุนเวียน 26,372 18,434 7,938 43%
- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 35,643 36,636 (993) (3%)
รวมสินทรัพย์ 62,015 55,070 6,945 13%
หนี้สิน
- หนี้สินหมุนเวียน 31,375 33,682 (2,307) (7%)
- หนี้สินไม่หมุนเวียน 6,565 968 5,597 578%
รวมหนี้สิน 37,940 34,650 3,290 9%
ส่วนของผู้ถือหุ้น
- ทุนที่ออกและชำระแล้ว 17,075 17,075 - -
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 4,032 4,032 - -
- กำไรสะสม 2,782 (802) 3,584 N/A
- ส่วนเกินจากการตีมูลค่า
ยุติธรรม 179 108 71 65%
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 7 7 - -
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 24,075 20,420 3,655 18%
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 62,015 55,070 6,945 13%
ปี 2552 บริษัทฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 7,938 ล้านบาท โดยหลักเนื่องมาจากบริษัทฯ
มียอดลูกหนี้การค้าและยอดสินค้าคงเหลือที่สูงขึ้นจากการที่น้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีราคา ณ สิ้นปี
สูงขึ้น ยอดสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนลดลง 993 ล้านบาท เนื่องมาจากการลดลงของยอดภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
อันเป็นผลมาจากการที่บริษัทฯ มีผลกำไรในปี 2552 หักกับการเพิ่มขึ้นของยอดที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ จาก
กิจกรรมการลงทุนในการเตรียมการสำหรับโครงการยูโร 4 (Euro 4)
บริษัทฯ มีหนี้สินรวมเพิ่มขึ้น 3,290 ล้านบาท โดยหลักมาจากยอดเจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 3,060
ล้านบาท จากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ณ สิ้นปี 2552 บริษัทฯ มียอดเงินกู้ยืมรวม 27,863 ล้านบาท จากยอดเงิน
กู้ยืม 27,971 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2551 ทั้งนี้ประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะสั้น 22,363 ล้านบาท ซึ่งรวมยอดตั๋วแลก
เงิน 4,795 ล้านบาท และเงินกู้ยืมระยะยาวจำนวน 5,500 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ถือได้ว่ายอดเงินกู้ยืมของ
บริษัทฯ ยังคงอยู่ในระดับเดียวกันกับปีก่อนหน้า โดยมีการเพิ่มขึ้นของเงินกู้ยืมระยะสั้นในระดับเดียวกับการ
ลดลงของเงินกู้ยืมระยะยาวเนื่องจากการชำระคืนจำนวน 2,750 ล้านบาทในระหว่างปี ส่วนหนี้สินไม่หมุนเวียน
เพิ่มขึ้นจำนวน 5,597 ล้านบาท เป็นผลมาจากการจัดประเภทเงินกู้ยืมระยะยาว จำนวน 8,250 ล้านบาทเป็น
หนี้สินหมุนเวียนในปี 2551 เพื่อให้เป็นไปตามมาตราฐานการบัญชี
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 3,655 ล้านบาท เป็นผลมาจากยอดกำไรสุทธิ ปี 2552 จำนวน
4,451ล้านบาท หักกับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล จำนวน 865 ล้านบาท (0.25 บาทต่อหุ้น)ในเดือนกันยายน
6
6. อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราส่วนกำไร
ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส
4 ปี 4 ปี 3 ปี
2552 2551 2552 ปี 2552 ปี 2551
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) 1.6% -34.5% 0.9% 6.8% -1.9%
อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) -0.8% -26.9% -1.4% 2.7% -3.1%
อัตราส่วนความสามารถในการชำระ
ดอกเบี้ย (เท่า) 0.0 n/a n/a 15.5 n/a
อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ 31 ธ.ค. 52 ณ 30 ก.ย. 52 ณ 31 ธ.ค. 51
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 0.8 0.9 0.5
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.2 0.2 0.1
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.2 1.0 1.4
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
(เท่า) 0.2 0.3 0.0
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.1 1.0 1.3
ที่มาในการคำนวณ
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขาย
อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้จากการขาย
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA / ดอกเบี้ยจ่าย
อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว = (เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น
+ ลูกหนี้การค้า) / หนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม = หนี้เงินกู้ระยะสั้น + หนี้เงินกู้ระยะยาว
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว / ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย - เงินสดและรายการ
เทียบเท่าเงินสด) / ส่วนของผู้ถือหุ้น
_______________________
ชื่อ:โรเบิร์ต ไมเคิล คูเปอร์
ตำแหน่ง: กรรมการผู้จัดการ
วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553
7